รูปที่ 1 ตัวอย่างหม้อต้มยาของหมอยายุคอดีต จะเห็นได้ว่ายังมีการปัก “เฉลว” ตามความคติชนความเชื่อในการป้องกันการถูกขโมย “สรรพคุณยา” จากผู้อื่นอยู่ ดัดแปลงรูปจาก https://web.facebook.com/344850412661677/photos/a.344862235993828/708211489658899/?type=3&_rdc=1&_rdr

การจำเริญยา

การจำเริญยา

เรื่องราวของการจำเริญยาในมุมของ หมอยา นั่นเป็นอย่างไร มีความสำคัญไฉน เหตุใดโบราณท่านจึงนิยมกระทำมา แต่ปัจจุบันกลับเลื่อนลางไป หาคำตอบได้จากบทความนี้ครับ


การจำเริญยา คือ อะไร

ข้อมูลจาก อาจารย์อัมรินทร์ สุขสมัย จากสำนักสัชฌายะ รสายนเวท ได้กล่าวใจความประมาณนี้ครับว่า การจำเริญยา คือ คำเรียกที่โบราณมักใช้สำหรับ ยาแผนโบราณ หรือ ยาสมุนไพร โดยสื่อความหมาย 2 นัยยะ คือ

1. การจำเริญยา ในมตินัยยะนี้ เป็นศาสตร์ในกระบวนการทางไสยเวทวิทยาคม ด้วยการนำยาสมุนไพรเพื่อกิน และทา ให้ยานั้นมีผลในทางวิทยาคม เช่น คงกระพัน, มหานิยม, เสริมชะตา, ป้องกันยาพิษยาสั่ง, เสริมอายุวัฒนะ, เสริมสง่าตบะอำนาจ, บำรุงธาตุ

2. การจำเริญยา ในมตินัยยะที่สองนี้จะแทรกอยู่ในกลุ่มของ “หมอยา” ซึ่งเมื่อยาต้มหม้อที่ใช้รักษาโรคแล้ว หรือ หมดฤทธิ์ยาแล้ว มักจะนำไปจำเริญ (เทยาทิ้ง) เสียก่อน ด้วยความเชื่อของคนโบราณท่านว่า ยาสมุนไพร คือ สิ่งที่ให้คุณวิเศษ เป็นสิ่งที่มีบุญคุณ ช่วยบำบัดรักษาการเจ็บป่วย ท่านจึงยกย่องว่ายานั้นเป็นของสูง

ด้วยเหตุนี้เองครับ การจะเททิ้งขว้างท่านอาจจะมองว่าไม่เหมาะสม จึงต้องมีการกำหนดวิธีการจำเริญยานั้นทิ้งเสีย ด้วยหากเก็บไว้ก็รั้งแต่จะเกิดทุรพิษ และอีกนัยหนึ่งก็เพื่อป้องกันการสับสนนำยานั้นกลับมาใช้ใหม่ครับ

บางตำรับยาทาที่ใช้รักษาโรคติดต่อบางชนิดให้นำไปจำเริญไฟ แทนการจำเริญน้ำ เหตุที่ให้นำไปจำเริญไฟ ก็อาจเนื่องจากต้องการฆ่าเชื้อโรคติดต่อนั้นไม่ให้ระบาด แต่โดยส่วนใหญ่ “หมอยา” นิยมจำเริญน้ำ มากว่า จำเริญไฟ

รูปที่ 1 ตัวอย่างหม้อต้มยาของหมอยายุคอดีต จะเห็นได้ว่ายังมีการปัก “เฉลว” ตามความคติชนความเชื่อในการป้องกันการถูกขโมย “สรรพคุณยา” จากเพชรพญาธรดัดแปลงรูปจาก https://web.facebook.com/344850412661677/photos/a.344862235993828/708211489658899/?type=3&_rdc=1&_rdr
รูปที่ 1 ตัวอย่างหม้อต้มยาของหมอยายุคอดีต จะเห็นได้ว่ายังมีการปัก “เฉลว” ตามความคติชนความเชื่อในการป้องกันการถูกขโมย “สรรพคุณยา” จากเพชรพญาธร
ดัดแปลงรูปจาก https://web.facebook.com/344850412661677/photos/a.344862235993828/708211489658899/?type=3&_rdc=1&_rdr

ขั้นตอนการจำเริญน้ำ

1. การเตรียมสิ่งของ

เตรียมสิ่งของที่ต้องการจำเริญ ใส่ห่อผ้าขาว ผูกมัดให้ดีแน่นหนา หากมีขนาดใหญ่มาก โดยโบราณจะต้องมีผู้รู้ธรรมเนียนเป็นผู้คอยชี้แนะบอกกล่าว

2. การเลือกแหล่งพื้นที่

ให้เลือกแหล่งน้ำไหล เช่น แม่น้ำ คลอง คู  เป็นต้น ***ห้าม บ่อ หนอง ลำราง ลำกระโดง

3. การอธิษฐาน

นั่งหันหน้า เข้าแม่น้ำ ลำคลอง กรณีวัตถุนั้นสามารถถือได้ ยกขึ้นระหว่างอก ถ้าวัตถุชิ้นนั้นใหญ่ มีน้ำหนัก วางไว้ตรงหน้า agoradesign.it กล่าวคำอธิษฐาน “ข้าพเจ้าขอจำเริญวัตถุนี้ ฝากพระแม่คงคา โปรดนำพาออกไป ขอพระแม่คงคานำสิ่งที่ไม่ดี เสนียดออกไปจากตัวข้าพเจ้า ขอสิ่งดี ความร่มเย็นดังสายน้ำแห่งพระแม่ จงบังเกิดมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ ตลอดกาลนานเทอญ”

4. การปล่อยวัตถุจำเริญ

หย่อนปล่อยวัตถุนั้นลงในน้ำทันที ไม่ต้องวักน้ำเพื่อผลักวัตถุออก (ไม่เหมือนการลอยกระทงแบบในปัจจุบัน) ***ห้ามโยน ห้ามขว้างโดยเด็ดขาด

5. เคล็ด

มีเคล็ดข้อห้าม คือ เมื่อปล่อยวัตถุลงน้ำแล้ว ให้กลับหลังเดินขึ้นฝั่งทันที ห้ามหันหลังกลับไปมองวัตถุนั้นอีก ควรงดเว้นการพูดคุย การทักท้วงถามกัน

รูปที่ 2 พิธีจำเริญน้ำ ใน พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช... หลาย ๆ ท่านคุ้นชินกับการจำเริญน้ำในลักษณะนี้ แต่แท้จริงแล้ว การจำเริญน้ำสามารถใช้ได้ในหลายมติครับ ซึ่งตามพจนานุกรมให้คำจำกัดความการจำเริญน้ำว่า การทิ้ง ครับดัดแปลงรูปจาก https://navy24.org/พิธีจำเริญน้ำ-ใน-พระราชพ/
รูปที่ 2 พิธีจำเริญน้ำ ใน พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช… หลาย ๆ ท่านคุ้นชินกับการจำเริญน้ำในลักษณะนี้ แต่แท้จริงแล้ว การจำเริญน้ำสามารถใช้ได้ในหลายมติครับ ซึ่งตามพจนานุกรมให้คำจำกัดความการจำเริญน้ำว่า การทิ้ง ครับ
ดัดแปลงรูปจาก https://navy24.org/พิธีจำเริญน้ำ-ใน-พระราชพ/

ขั้นตอนการจำเริญไฟ

1. การเตรียมสิ่งของ

เตรียมสิ่งของที่ต้องการจำเริญ ใส่ห่อผ้าขาว ผูกมัดให้ดีแน่นหนา หากมีขนาดใหญ่มาก โดยโบราณจะต้องมีผู้รู้ธรรมเนียนเป็นผู้คอยชี้แนะบอกกล่าว

2. การเลือกแหล่งพื้นที่

เลือกพื้นที่กลางแจ้ง นอกชายคาเรือน สมัยโบราณนิยมตั้งเตากลางแจ้งริมคลอง ริมแม่น้ำ ***ห้ามอยู่ในชายคาบ้าน เตาไฟห้ามใช้รวมกับเตาไฟปรุงอาหาร ดังนั้น การจำเริญไฟ จึงนิยมก่อเตาขึ้นมาเป็นการชั่วคราว

เมื่อเสร็จแล้วให้ยุบเตานั้นทิ้ง ในสมัยปัจจุบัน หาปี๊บ หรือ ถังสังกะสี แล้วจุดไฟเผาในนั้น เมื่อเหลือเศษเถ้า กรณีเป็นวัตถุอาถรรพ์ร้ายแรง ต้องรดซ้ำด้วยน้ำมนต์ธรณีสาร แต่ถ้าหากเป็นวัตถุจำเริญทั่วไป ทิ้งเถ้านั้นไปโดยปกติได้

3. การอธิษฐาน

นั่งหันหน้าเข้าเตาไฟ กล่าวคำอธิษฐาน “ข้าพเจ้าขอจำเริญวัตถุนี้ ฝากพระอัคนี โปรดชำระให้บริสุทธิ์ ขออำนาจแห่งพระอัคนี ชำระสิ่งไม่ดี แผดเผาเสนียดออกไปจากตัวข้าพเจ้า ขอสิ่งดี ความสว่างไสวแห่งแสงพระอัคนี จงนำพาความรุ่งโรจน์ บังเกิดมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ ตลอดกาลนานเทอญ”

4. การปล่อยวัตถุจำเริญ

ใส่ลงไปในกองไฟ กรณีไฟแรง ให้โยนเข้าไปได้ ถ้าหากเป็นวัตถุชิ้นใหญ่ ให้วางบทกองฟื้นก่อนแล้วจึงอธิษฐาน จากนั้นจึงจุดไฟ

5. เคล็ด

สามารถยืนอยู่หน้ากองไฟได้ รอดูจนกว่าวัตถุนั้นจะมอดหมด และห้ามดับไฟ ให้ปล่อยไฟมอดดับไปเอง กรณีเป็นวัตถุอาถรรพ์ร้ายแรง จำเป็นต้องกระทำโดยมีผู้รู้เป็นผู้คอยกำกับควบคุมตลอดเวลา กรณีนี้ไม่แนะนำให้ทำเอง เพราะอาจจะส่งผลเสียให้เสนียดนั้นย้อนกลับเข้าตัวได้

รูปที่ 3 ตัวอย่างการจำเริญไฟดัดแปลงรูปจาก https://web.facebook.com/satchaya56/photos/a.970339706500243/1672428179624722
รูปที่ 3 ตัวอย่างการจำเริญไฟ
ดัดแปลงรูปจาก https://web.facebook.com/satchaya56/photos/a.970339706500243/1672428179624722

สถานการณ์ปัจจุบัน

ปัจจุบันหมอยาหลายท่านจำเป็นต้องทำตามกฎของกระทรวงสาธารณสุข จึงนิยมใช้การกำจัดยาเหล่านี้ลงในขยะติดเชื้อ แล้วใช้บริการการกำจัดขยะติดเชื้อจากทางโรงพยาบาล หรือ บริษัทเอกชน ด้วยเหตุนี้อาจจะอนุมานได้ถึงการเลือนหายไปของขนบธรรมเนียมนี้ครับ

รูปที่ 4 ตัวอย่างถุงขยะติดเชื้อดัดแปลงรูปจาก https://thaipublica.org/2021/06/king-pac-industrial-hero-pr-25-06-2564/
รูปที่ 4 ตัวอย่างถุงขยะติดเชื้อ
ดัดแปลงรูปจาก https://thaipublica.org/2021/06/king-pac-industrial-hero-pr-25-06-2564/

สรุป

การจำเริญยา ในมติของหมอยาโบราณ คือ การกำจัดยาที่ใช้เสร็จแล้ว หรือยาที่หมดฤทธิ์แล้ว โดยการเททิ้งลงในแม่น้ำ หรือ การนำไปเผา ด้วยความเคารพครั้งสุดท้ายในฐานะของสิ่งที่ให้คุณวิเศษ อีกนัยยะหนึ่ง คือ การกำจัดวัตถุติดเชื้อ เพื่อปกป้องการนำไปใช้ซ้ำ และทำให้ถูกสุขอนามัยครับ

 

เขียน และเรียบเรียง โดย

พท.ป. ธาร์มันษ์ ตลับเพชร์สกุล

อ้างอิง

  1. https://web.facebook.com/satchaya56/photos/pcb.1918760618324809/1918760594991478/
  2. https://web.facebook.com/satchaya56/photos/a.970339706500243/1672428179624722/

 

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *