โรคนอนไม่หลับ กับ ศุขไสยาศน์
โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)
โรคนอนไม่หลับ หรือ Insomnia คือ ภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการนอนไม่หลับ หรือ หลับไม่สนิท นอนหลับยาก ใช้เวลานอนนานกว่า 30 นาทีถึงจะหลับได้ [1] ผลของการนอนไม่หลับทำให้ร่างกายเกิดความอ่อนเพลีย, ปวดศีรษะ, จิตใจเกิดความกังวล หรือ มีผลต่อการคิดการตัดสินใจและการทำงานในช่วงกลางวัน [2]
นอกจากนี้ โรคนอนไม่หลับ อาจจะส่งผลให้เกิดปัญหาด้านความจำ, ภาวะซึมเศร้า, อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย, และ ภูมิคุ้มกันต่ำอีกด้วย [1] หากจะแบ่งประเภทของโรคนอนไม่หลับตามลักษณะช่วงของการนอนไม่หลับจะสามารถจำแนกได้ 3 ประเภท คือ [2]
- Initial insomnia
- ภาวะที่ผู้ป่วยมีปัญหานอนหลับยากใช้เวลานอนนานกว่าจะหลับ ภาวะดังกล่าวอาจสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล
- Maintinance insomnia
- ภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถนอนหลับได้ยาวมีการตื่นกลางดึกบ่อยภาวะดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาทางกาย เช่นภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น
- Terminal insomnia
- ภาวะที่ผู้ป่วยตื่นเร็วกว่าเวลาที่ควรจะตื่นอาจพบได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า
แต่หากเราต้องการแบ่งตามระยะเวลาที่เกิดโรคก็จะสามารถแบ่งง่ายๆได้ 2 กลุ่ม คือ [2]
- Adjustment insomnia (โรคการนอนไม่หลับจากการปรับตัว)
- Chronic insomnia (โรคการนอนไม่หลับเรื้อรัง)
อาการของโรคนอนไม่หลับ
- ต้องใช้เวลานานกว่าจะนอนหลับได้
- ชั่วโมงนอนน้อยเกินไป (ดูหัวข้อด้านบน เรื่องระยะเวลาการนอนที่เหมาะสมในแต่ละอายุ)
- หลับแล้วตื่นบ่อยๆ (Interrupted sleep)
- ตื่นแล้วไม่สามารถนอนหลับได้อีก
- ง่วงนอนในเวลากลางวัน แต่นอนไม่หลับในเวลากลางคืน
สาเหตุของโรคนอนไม่หลับ
- ปัจจัยด้านร่างกาย [1]
- อาจมีความผิดปกติระหว่างการนอน เช่น มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnea)
- มีปัญหาจากอาการอื่น เช่น อาการเจ็บป่วย มีไข้ โรคกรดไหลย้อน
- บางคนอาจมีระบบประสาทที่ตื่นตัวมากกว่าปกติจึงทำให้หลับยาก
- ปัจจัยด้านจิตใจ [1]
- อาจเกิดจากความเครียด
- ความวิตกกังวล
- โรคซึมเศร้า
- โรคไบโพล่าร์
- ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม [1]
- เกิดจากการมีเสียงรบกวน หรือมีแสงไฟรบกวน
- ปัจจัยด้านอุปนิสัยส่วนตัว [1]
- การนอนที่ไม่ถูกสุขลักษณะ โดยการทำกิจกรรมต่างๆที่ส่งผลให้นอนไม่หลับ เช่น การเล่นเกมส์ การเล่นโทรศัพท์มือถือก่อนนอน การดื่มเครื่องดื่มที่มีสารกระตุ้นคาเฟอีน เป็นต้น
การรักษาโรคนอนไม่หลับ
โดยปกติแล้ว “แนวทางการรักษาโรคนอนไม่หลับ” สามารถแบ่งได้ 2 แนวทางหลัก ๆ คือ การดูแลรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา และ การรักษาโดยการใช้ยา (การรักษากับหมอ) ซึ่งรายละเอียดมีดังนี้ครับ [1]
- การดูแลรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา
- จัดการกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการนอนหลับ เช่น เรื่องสุขลักษณะการนอน ห้องนอนควรมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก อุณหภูมิเหมาะสม เงียบ เป็นต้น
- ทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลายก่อนนอน เช่น การนวกน้ำมันคลายเครียด การทำสมาธิ หรือ ฟังเสียงธรรมชาติ เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงเรื่องที่ส่งผลให้เกิดความเครียด และทำให้รู้สึกตื่นตัว เช่น เล่นเกมส์ เล่นโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
- ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบในช่วงเย็น เพราะคาเฟอีนจะส่งผลให้นอนไม่หลับ
- เมื่อเข้านอนแล้วแต่ นอนหลับไม่หลับ ในเวลาประมาณ 20 นาที ให้ลุกขึ้นจากเตียงไปทำกิจกรรมที่สบายๆ และผ่อนคลาย แล้วกลับไปนอนใหม่อีกครั้งเมื่อง่วง
- หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังจะทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น
- เข้านอน – ตื่นนอนให้เป็นเวลา
- หลีกเลี่ยงการงีบหลับในตอนกลางวัน
- งดดื่มเครื่องดื่มประเภท “แอลกอฮอล์” แม้เครื่องดื่มเหล่านี้เหล่านี้จะทำให้นอนหลับง่าย แต่จะตื่นบ่อย ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ
- การรักษาโดยแพทย์ หรือ การใช้ยา
การรักษาด้วยวิธีนี้จำเป็นต้องไปพบหมอเพื่อประเมินอาการก่อนครับ ซึ่งปกติแล้วยาจะแบ่งออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ดังนี้ครับ [2]
2.1. Benzodiazepine กลุ่มยาดังกล่าวเป็นกลุ่มยาที่ใช้บ่อยในเวชปฏิบัติ ถ้าแบ่งคร่าว ๆ จะเเบ่งเป็นกลุ่มที่ออกฤทธิ์สั้น และออกฤทธิ์ยาว สำหรับกลุ่มที่ออกฤทธิ์สั้น ได้แก่ lorazepan, triazolam ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่นอนหลับยากในช่วงแรก (initial insomnia)
อย่างไรก็ตามการใช้ยากลุ่มนี้ที่ออกฤทธิ์เร็ว เช่น Alprazolam, Midazolam อาจเกิดการขาดยาได้ง่ายจึงถอนยาออกได้ยาก โอกาสติดยาสูง จึงต้องระวังการใช้อย่างมาก สำหรับ กลุ่มยาที่ออกฤทธ์นานเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาหลับไม่สนิทระหว่างคืน หรือ ตื่นเร็วกว่าปกติ เช่น clonazepam, diazepam เป็นต้น
2.2. Non- Benzodiazepine เช่น Zolpidem เป็นกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์เร็ว ดูดซึมได้ดี อย่างไรก็ตามอาจต้องระวังผลข้างเคียง เช่น ง่วงซึม, มึนศีรษะ หรือ ละเมอ
2.3. ยาต้านซึมเศร้า เช่น Trazodone , Mirtazapine ซึ่งยาดังกล่าวนอกจากมีผลเรื่องการปรับอารมณ์ แล้วยังมีกลไกการออกฤทธ์ช่วยการหลับ
2.4. ยากลุ่ม melatonin เป็นสารที่สังเคราะห์ภายในร่างกายมีบทบาทช่วยให้เกิดการนอนหลับ ปัจจุบันมีการผลิตยาที่อยู่ในรูปเมลาโทนินภายนอกร่างกายใช้เพื่อช่วยการนอนหลับ
นอกจากยาที่เป็นเคมีสังเคราะห์ดังที่กล่าวมาแล้วด้านต้น สมุนไพรอย่าง “กัญชา” สามารถลดระยะเวลาตั้งแต่การเข้านอนจนกระทั่งการหลับ (Sleep Latency) ได้ [3] โดยปัจจุบันแพทย์แผนไทยได้นำสมุนไพรชนิดนี้มาปรุงยารักษาโรคนอนไม่หลับเรื้องรังอย่างได้ผล ซึ่งตำรับดังกล่าวมีชื่อว่า “ศุขไสยาศน์”
ศุขไสยาศน์ คือ
สมุนไพรตำรับ ศุขไสยาศน์ เป็นตำรับที่มี “กัญชา” ปรุงผสมอยู่ ซึ่งยาตำรับนี้ได้ระบุเอาไว้อย่างชัดเจนใน คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ [3]
โดยโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้เปิดให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2562 มีการตรวจรักษา และจ่ายยาตำรับ “ศุขไสยาศน์’’ เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคนอนไม่หลับเรื้องรัง [3]
ศุขไสยาศน์ เป็นยาตำรับของดีที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งปัจจุบันก็ได้มีนักวิจัยเข้ามาพิสูจน์ให้เห็นกันอย่างเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า “ศุขไสยาศน์” สามารถลดอาการนอนไม่หลับ, การตื่นกลางดึก, ลด Sleep Latency, และ เพิ่มคุณภาพการนอนได้ดีอีกด้วย [3]
นอกจากนี้ทางอภัยภูเบศรยังกล่าวต่อว่า “ผู้ป่วย 82.2% หลับได้ดีขึ้นหลังใช้ยาศุขไสยาศน์ แถมยังช่วยคุณภาพการนอนหลับ ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น และลดการใช้ยาแผนปัจจุบันได้” อีกด้วย [4]
ด้วยเหตุนี้ “พรหมวิหารคลินิก” ก็ได้นำยาตำรับนี้มาใช้รักษาผู้ป่วยโรคนอนไม่หลับ ตั้งแต่ เดือนสิงหาคม 2565 เป็นต้นมา โดยผู้ป่วยจะได้รับการประเมินอาการจากหมอแผนไทย ด้วยแบบทดสอบตามมาตรฐานสากล
ต้องกิน ศุขไสยาสน์ นานเท่าไหร่ ในการรักษาโรคนอนไม่หลับ
โดยปกติแล้วจะต้องประเมินความรุนแรงของโรคก่อน หากเป็นไม่หนักก็จะให้รับประทาน 1-2 แคปซูล (500-1,000 มก.) ติดต่อกันเป็นเวลา 1-5 เดือนครับ
ข้อห้ามใช้ ศุขไสยาศน์
- ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่มีไข้ และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
- ห้ามใช้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยานอนหลับ และยาต้านการชัก รวมทั้งแอลกอฮอล์ หรือสิ่งที่มี แอลกอฮอล์ผสมอยู่
ควรระวัง ศุขไสยาสน์
- ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด(antiplatelets)
- ควรระวังการใช้ร่วมกับยา phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจากตำรับนี้มีพริกไทยเป็นส่วนประกอบ
- ควรระวังการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับ ไต เนื่องจากอาจเกิดการสะสมของการบูร และเกิดพิษได้
- ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคแผลเปื่อยเพปติก และโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากเป็นตำรับยารสร้อน
- ยานี้อาจทำให้ง่วงซึมได้ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล
ขั้นตอนการขอรับการรักษา ศุขไสยาศน์ กับ พรหมวิหารคลินิก
- ประเมินอาการ/ความรุนแรงของโรคที่คลินิกสาขาลำพูน
- ในกรณีไม่สะดวกมา สามารถกรอกแบบสอบถามได้จากลิงค์นี้ครับ https://forms.gle/P6w4vd4CQ4vunJBE6
- เราจะทำการแปลผล และติดต่อส่ง ยาศุขไสยาศน์ ให้ครับ
เขียน และเรียบเรียง โดย
พท.ป. ธาร์มันษ์ ตลับเพชร์สกุล
อ้างอิง
- https://www.nksleepcenter.com/what-is-insomnia/
- https://www.nonthavej.co.th/Insomnia-2.php
- Tengtermwong N., Effectiveness and Safety of Suk Sai-Yad Herbal Remedy for Chronic Insomnia: A Preliminary Retrospective Study in Chao Phya Abhaibhubejhr Hospita, Thai Traditional & Alternative Med., Vol. 19, No.2
- ข้อมูลยาตำรับศุขไสยาศน์จากอภัยภูเบศร