สารบัญบทความ
Nutraceutical V.s. Supplements
ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ยังสับสนว่า โภชนเภสัช (Nutraceutical), อาหารเพื่อสุขภาพ (Functional Food), และ อาหารเสริม (Supplement) แตกต่างกันอย่างไร ? ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะแม้กระทั่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านนี้ก็ยังคงจำกัดความที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นเราจึงได้รวบรวบข้อมูล และนำเสนอในรูปแบบของเราหวังว่ามันจะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกท่านค่ะ
ก่อนอื่นต้องบอกให้ทราบว่า ทั้งอาหารเสริม และอาหารเพื่อสุขภาพจัดอยู่ในกลุ่มของ “โภชนเภสัช” ซึ่งแต่ละคำศัพท์ก็มีความแตกต่างกันในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นความเฉพาะเจาะจง, แนวโน้มของตลาด, คำจำกัดความทางกฎหมาย, การกระทำ, และหน่วยงานกำกับดูแลสินค้าแต่ละประเภท เป็นต้น
โภชนเภสัช คือ อะไร ?
คำว่า “Nutraceutical” มาจากคำว่า “Nutrition” และ “Pharmaceuticals” และได้รับการประกาศเกียรติคุณจาก Dr. Stephen DeFelice ในปี 1989 โดยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา คำนี้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในทางการตลาด
อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีคำจำกัดความตามข้อบังคับใน สหรัฐอเมริกา มีข้อเสนอจากแพทย์ เภสัชกร และนักวิทยาศาสตร์อื่น ๆ ให้ควบคุมด้วยคำจำกัดความที่ชัดเจน แต่คำศัพท์ยังคงนิยามไว้อย่างหลวม ๆ ค่ะ
โภชนเภสัช (Nutraceuticals) เป็นสารประกอบทางเคมีธรรมชาติที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพของอาหาร หรือ สารสกัดหยาบที่สามารถส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และให้ประโยชน์ทางยาโดยทั่วไป
โภชนเภสัช มีจำกัดความว่าเป็น “ผลิตภัณฑ์ที่แยก หรือ ทำให้บริสุทธิ์จากอาหาร และสารสกัดหยาบ (Crude Extract) โดยทั่วไปผลิตและจัดจำหน่ายในรูปแบบยา อาหารเสริมประเภทหนึ่ง มีสรรพคุณต่อร่างกายทางสรีรวิทยา ในด้านป้องกัน รักษาหรือ ตานโรคเรื้อรัง รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพ”
ตัวอย่างของโภชนเภสัช
- คอลลาเจนเปปไทด์ (ผลิตจากกระดูกวัวและผลิตภัณฑ์จากวัวอื่นๆ)
- เคอร์คูมิน (สารที่อยู่ในขมิ้น)

อาหารเพื่อสุขภาพ คือ อะไร ?
อาหารเพื่อสุขภาพ (Functional Food) คือ อาหารอยู่ในรูปแบบทั่วไป อาหารที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพนอกเหนือจากอาหารปกติ เป็นอาหารที่เรารับประทานในชีวิตประจำวัน จะได้ผลเมื่อรับประทานในปริมาณที่สามารถออกฤทธิ์ต่อร่างกาย แต่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์ทางสรีรวิทยา สามารถลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง นอกเหนือจากหน้าที่ทางโภชนาการขั้นพื้นฐาน
ตัวอย่างอาหารเพื่อสุขภาพ
American Dietetic Association (ADA) กำหนดแบ่งอาหารที่มีประโยชน์ออกเป็น 4 ประเภท โดยประเทศที่พัฒนาเริ่มแรกคือประเทศญี่ปุ่น มีวัตถุประสงค์ของการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ ซึ่งสรุปหลักการของทั้งญี่ปุ่นและ ADA ไว้ดังนี้
- Conventional foods: เป็นอาหารที่เรารับประทานกันอยู่ทั่วไป เช่น เมล็ด ผัก ธัญพืช รวมถึง กลุ่ม ที่เป็นสารสำคัญจากพืช Phytochemical ทั้งหมด Beta-caratene, Lycopene, Flavonoid, Phenol, Isoflavone, Omega-3 ถือว่ากลุ่มนี้เป็นพื้นฐานของ functional foods เพราะ มีอยู่ในอาหารนั้นอยู่แล้วและไม่มีการดัดแปลงส่วนประกอบใด ๆ
- Modified foods: เป็นอาหารที่มีการดัดแปลง หรือ ใช้เทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มคุณค่าของอาหาร แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
- Enriched foods คือ อาหารที่มีการเติม nutrients ซึ่งอาจมีการสูญเสียไประหว่างกระบวนการผลิต… ยกตัวอย่างเช่น: ขนมปังโฮลวีตที่อุดมด้วยโฟเลต (ในที่นี้ขนมปังโฮลวีตมีส่วนประกอบของโฟเลทอยู่แล้วแต่สูญเสียไปจากการผลิต ทำให้ต้องมีการเติมเพิ่มเข้าไปเพื่อให้คุณค่าของอาหารคงอยู่ ในอาหารกลุ่มนี้จะใช้คำว่า อุดมไปด้วย…)
- Enhanced foods คือ การเติมที่ไม่ใช่สารพวกวิตามิน หรือ แร่ธาตุ และสารอาหารที่เติมไม่ได้มีอยู่เดิมในอาหารนั้น วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารครบถ้วน เช่น การเติมสมุนไพรในซุปไก่ การเติม plant stanol ในมาร์การีน การเติมไฟเบอร์ลงไปมื้ออาหารหลักที่ไม่มีผักเป็นองค์ประกอบ
- Fortified foods เป็นสารอาหารกลุ่มวิตามินและเกลือแร่ที่เติมเข้าไปซึ่งสิ่งที่เติมเข้าไปอาจไม่มีอยู่ดั้งเดิมในอาหารนั้น ยกตัวอย่างเช่น น้ำส้มเสริมแคลเซียม หรือ เกลือป่นเสริมไอโอดีน
- Medical foods: เป็นอาหารทางการแพทย์ที่คิดค้นขึ้นเฉพาะสำหรับสภาวะสุขภาพที่แตกต่างกัน บุคคลากรสุขภาพเป็นผู้แนะนำการใช้ เช่น อาหารสำหรับผู้ป่วย ฟีนิลคีโตนูเรีย อาหารปราศจากน้ำตาลแลกโตส อาหารควบคุมน้ำหนัก
- Foods for special dietary use: คล้ายคลึงกับกลุ่ม Medical foods แต่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป ไม่ต้องการคำแนะนำการใช้จากบุคคลากรด้านสุขภาพ เป็นอาหารที่เติมสารอาหารตามสภาวะสุขภาพต่าง ๆ เช่น อาหารปราศจาก Gluten นมปราศจากน้ำตาลแลคโตส ที่มีขายอยู่ร้านสะดวกซื้อ

อาหารเสริม คือ อะไร ?
อาหารเสริม (Supplement) คือ สารอาหารที่ใช้รับประทานเพิ่มเติมจากมื้ออาหารหลัก อาจใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ หรือเพื่อบำรุงสุขภาพ ในทางเวชศาสตร์ชะลอวัยอาหารเสริมถูกใช้เพื่อแก้ไข หรือ ลดภาวะพร่องสุขภาพ (Sup-Optimal Health) ซึ่งเป็นอาการเกิดจากการขาดสารอาหาร วิตามินหรือเกลือแร่บางกลุ่ม มีผลให้ร่างกายอยู่ในสภาวะที่อ่อนแอ อ่อนเพลีย เจ็บป่วยได้ง่าย
สารอาหารที่มักถูกนำมาทำเป็นอาหารเสริม ได้แก่ วิตามิน แร่ธาตุ กรดอะมิโน พืช ผัก สมุนไพรต่าง ๆ เป็นต้น อาหารเสริมถูกผลิตออกมาให้สามารถรับประทานได้ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบเม็ด แบบแคปซูล แบบผง หรือแบบน้ำ โดยอาหารเสริมอาจเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการรักษาทางการแพทย์ได้ โดยที่ผู้ป่วยต้องรับประทานภายใต้การดูแลจากแพทย์หรือเภสัชกร และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเท่านั้น ซึ่งผู้บริโภคควรรับประทานตามคำแนะนำ และข้อบ่งชี้ที่ระบุบนฉลากอย่างเคร่งครัด
ผลิตภัณฑ์อาหารทั้ง 3 รูปแบบที่กล่าวข้างต้นให้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าสารอาหารแบบดั้งเดิม (เช่น มีไฟโตนิวเทรียนท์พิเศษ มีชีววัตถุมากกว่า) และอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย รวมถึงแคปซูล เม็ด ผง แถบพลังงาน เครื่องดื่ม และอื่น ๆ ซึ่งปัจจุบันมีการประยุกต์ให้อยู่ในรูปแบบที่ทานได้ง่าย และรสสัมผัสที่ดีขึ้น ตอบโจทย์ของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
- วิตามิน เช่น B12, D, E, C และไบโอติน
- สมุนไพร เช่นสารสกัดหยาบของเอ็กไคนาเซียหรือแอชวากันดา (อาจจะระบุสารสำคัญหรือไม่ระบุก็ได้)
- แร่ธาตุ แมกนีเซียม แคลเซียม เหล็ก
- กลูโคซามีน (แต่สำหรับประเทศไทยตามกฏหมายอาหารและยา FDA-TH ยังจัดว่าเป็นประเภทยา)
- โปรไบโอติก
- น้ำมันปลา

การเติบโตของตลาดโภชนเภสัช
ขนาดตลาด การเติบโต และแนวโน้มของ Nutraceuticals เป็นไปในทางที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยขนาดตลาดโภชนเภสัชทั่วโลกมีมูลค่าสูงถึง 454.55 พันล้านดอลลาร์ในปี 2564 และคาดว่าจะขยายตัวในอัตราการเติบโตต่อปี (CAGR) 9% ในช่วงปี 2564 ถึง 2573
เราจะเห็นได้ว่า… ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นกลุ่มตลาดที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อาหารเพื่อสุขภาพ และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่มีขนาดเล็กกว่าอย่างเห็นได้ชัดเจน แต่!! มันก็ยังมีแนวโน้มที่ดีว่ากำลังเติบโตอย่างทวีคูณในเทรน Future Foods ค่ะ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโต
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน…. ตลาดถูกขับเคลื่อนโดยประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้น ความตระหนักของผู้บริโภค, ระดับการศึกษาสูงของประชากร, ความชอบสำหรับโภชนาการเฉพาะบุคคล, และความติดต่อ-การป้องกันโรคระบาด

เราจะแยกความแตกต่างของ “โภชนเภสัช” จาก “อาหารเสริม” อย่างไร ?
Tip ง่าย ๆ ที่จะช่วยเราแยกมันออกจากกัน คือ
- สารโภชนเภสัช ต้องมีหรือระบุแหล่งที่มาที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่น มีการระบุอย่างชัดเจนว่า ทำมาจากอะไร ในกรณี ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบต่อไปนี้ตั้งแต่หนึ่งอย่างขึ้นไป เช่น วิตามิน แร่ธาตุ สมุนไพร หรือ พฤกษศาสตร์อื่นๆ กรดอะมิโน กรดไขมัน หรือสารในอาหารรวมกัน เพื่อส่งเสริมโภชนาการเฉพาะด้าน (Individual’s Diet)
- อาหารเพื่อสุขภาพนั้นในบางประเทศให้คำจำกัดความเพิ่มเติม เช่น ญี่ปุ่นและประเทศในแถบยุโรป มีข้อบังคับระบุว่าอาหารเพื่อสุขภาพต้องมีส่วนผสมจากธรรมชาติเท่านั้น อย่างไรก็ตามในสหรัฐอเมริกา อาหารเพื่อสุขภาพสามารถมีส่วนผสมที่เป็นผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีชีวภาพได้เช่นกัน
กฎหมาย และการอนุญาตของผลิตภัณฑ์
สิ่งสำคัญคือต้องสังเกตว่า FDA กำหนดให้ทั้งผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตลอดจนผลิตภัณฑ์ที่วางตลาดภายใต้คำว่า “อาหารเพื่อสุขภาพ” และ “โภชนเภสัช” เป็นอาหารไม่ใช่ยา
อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่ได้ให้คำจำกัดความ หรือ ข้อบังคับแยกต่างหากสำหรับสองข้อหลัง มีเฉพาะสำหรับอาหารเสริมเท่านั้น
ดังนั้น ในทางกฎหมายอาหารและยาในประเทศไทย อนุญาตให้ผลิต และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้ในรูปแบบ สบ.3 และ สบ.5 // กรณีของ โภชนเภสัชเนื่องจากคำนิยามยังไม่แน่ชัดจึงทำให้ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้จัดอยู่ในหมวดอาหารเสริมอยู่ หรือ สามารถขึ้นทะเบียนเป็น Novel Food ซึ่งต้องมีงานวิจัยรับรอง และใช้ระยะเวลานานในกระบวนการขึ้นทะเบียน อย่างน้อย 1-2 ปี ในส่วนนี้จึงทำให้ โภชนเภสัช เป็นเพียงคำที่ใช้ทางการตลาดได้อย่างแพร่หลาย
หากกฎหมายและการขึ้นทะเบียนอาหารประเภทนี้ชัดเจนเมื่อไหร่ ผลิตภัณฑ์จะไม่สามารถใช้แอบอ้างหรือเคลมได้ ซึ่งในระหว่างรอความชัดเจน ผู้บริโภคสามารถเลือก หรือศึกษาข้อมูลก่อนการเลือกใช้เพื่อประกอบการพิจาณา และในส่วนอาหารเพื่อสุขภาพ จะขึ้นทะเบียนและได้รับอนุญาตเป็นอาหารโดยส่วนใหญ่ หรือไม่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียนเนื่องจากอยู่ในรูปของอาหารทั่วไปซึ่งผู้บริโภคสามารถเลือกได้เองค่ะ
สรุป
Nutraceuticals เป็นสารที่มีผลทั้งทางการรักษา และสารอาหาร เป็นสารประกอบที่แยกได้จากอาหารทั้งหมด
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร คือ สารที่อยู่ในรูปแคปซูล ยาเม็ด ของเหลว หรือผงที่มีคุณสมบัติในการรักษาหรือบำรุงสุขภาพ โดยไม่มีประโยชน์ทางการรักษาของยา เป็นสารประกอบทางโภชนาการแบบสแตนด์อโลน เช่น วิตามินหรือแร่ธาตุ เป็นต้นค่ะ
อาหารเพื่อสุขภาพเป็นผลิตภัณฑ์ที่วางตลาดเพื่อให้มีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยเฉพาะ ซึ่งสามารถทำอาหารประเภทนี้โดยการผสมผสานอาหาร สมุนไพร และเครื่องเทศบางชนิดเข้าด้วยกันเพื่อเพิ่มการดูดซึม และให้คุณค่าทางโภชนาการที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้สำหรับการนับ Calorie นั่นเองค่ะ
รวบรวมและเขียนโดย
มาริสา คุ้มญาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์
เรียบเรียงและแก้ไขโดย
พท.ป.ธาร์มันษ์ ตลับเพชร์สกุล บรรณาธิการ
อ้างอิง
- Health Canada (2019). ARCHIVED – Policy Paper – Nutraceuticals/Functional Foods and Health Claims On Foods – Canada.ca. [online] Canada.ca. Available at: https://www.canada.ca/en/health-canada/services/food-nutrition/food-labelling/health-claims/nutraceuticals-functional-foods-health-claims-foods-policy-paper.html
- https://www.pobpad.com/อาหารเสริม-ดีต่อสุขภาพจ
- https://suggestic.com/blog/nutraceuticals-vs-supplements
- https://www.gotoknow.org/posts/506791
Pingback: ไขความลับครีมกันแดด - พรหมวิหารคลินิก
Pingback: บทสรุปผลกระทบของ Terpenes ต่อสุขภาพ - พรหมวิหารคลินิก