รูปที่ 1 ออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)


ออฟฟิศซินโดรม คือ

กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นเรื้อรัง เหตุที่คนนิยมเรียก “ออฟฟิศซินโดรม” เพราะว่ากลุ่มอาการเหล่านี้เกิดกับพนักงานออฟฟิศเป็นส่วนมากครับ โดยส่วนมากผู้ป่วยออฟฟิศซินโดรมมักถูกวินิฉัยว่าเป็น Myofascial Pain Syndrome ครับ

รูปที่ 1 ออฟฟิศซินโดรม
รูปที่ 1 ออฟฟิศซินโดรม นอกจากจะสร้างความรำคาญในการทำงานแล้ว มันยังลดประสิทธิภาพการทำงานของเราด้วย หากไม่รีบรักษา ปล่อยให้เรื้อรังไม่ดีแน่

Myofascial Pain Syndrome (MPS) 3 ประเภท

  1. Primary MPS เกิดจากการใช้งานกลุ่มกล้ามเนื้อมัดนั้นๆ มากเกินไป หรือ มัดกล้ามเนื้อมัดนั้นๆหยุดการทำงานไป ทำให้เกิดเป็น Tigger Point ขึ้นมา
  2. Secondary MPS เกิดจากการเป็นโรคอื่นที่กำลังเป็น เช่น ผู้ป่วยมีภาวะกระดูกคอเสื่อม กล้ามเนื้อรอบ ๆ จะพยายามเกร็งตัวเพื่อชดเชยความแข็งแรง จึงเกิดเป็น MPS ร่วม ในเคสแบบนี้พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ
  3. Somatoform disorder กลุ่มนี้จะสัมพันธ์กับภาวะจิตใจ หรือ กลุ่มโรคกล้ามเนื้อเป็นพังผืด (Fibromygia)

 

ลักษณะสำคัญของ MPS

Trigger point คือ จุดที่กล้ามเนื้อมีการหดเกร็ง คลำเป็นก้อนได้ โดย Trigger Point Complex ประกอบไปด้วย 2 ส่วนสำคัญ ๆ เลย ได้แก่

  1. Taut band
  2. Trigger Point nodule
รูปที่ 2 Taut band
รูปที่ 2 ลองซูมเข้ามาดูเจ้าก้อน ๆ กล้ามเนื้อที่ทำให้เราเจ็บกันดีกว่า ว่า มันมีอะไรบ้าง

สาเหตุของ ออฟฟิศซินโดรม (โดยรวม)

  1. มีการขยับร่างกายน้อยทำให้กล้ามเนื้อตึง
  2. ตามมาด้วยการกำจัดของเสียในกล้ามเนื้อน้อยลง มีการสะสมกรดแลคติกมากขึ้น และ
  3. พัฒนาจนกลายเป็น Trigger Point Complex และกล้ามเนื้ออักเสบได้
  4. ความเครียดสะสม

 

การวินิจฉัยแยกโรคเบื้องต้นด้วยตัวเอง

ปวดบ่า-หลัง (ส่วนบน)-คอ

อาการนี้พบได้บ่อย อาการดำเนินโรคมักค่อยเป็นค่อยไป (ไม่เฉียบพลัน) บางคนอาจจะไม่มีปวดร้าว แต่บางคนอาจจะมีการปวดร้าวลงแขน หรือ ปวดร้าวขึ้นหัว ทางแผนไทยเรียก ลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 4-5 หลัง

 

กรณีที่ 1 ปวดบ่า-หลัง (ส่วนบน) ไม่มีอาการร้าวลงแขน

ค่อนข้างมั่นใจได้ว่า ผู้ป่วยจะเป็นเพียงโรคในกลุ่มกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เท่านั้น อาการ Refer Pain จะเป็นไปตามแนวกล้ามเนื้อ ซึ่งสอดคล้องกับโรค Myofascial pain syndrome มากที่สุด (กล้ามเนื้อ)

 

กรณีที่ 2 ปวดบ่า-หลัง (ส่วนบน) มีอาการปวดร้าวลงแขนร่วมด้วย

ในกรณีนี้มีก็จะต้องแยกให้ออกก่อนว่าอาการชาดังกล่าวเกิดจากสาเหตุอะไร ซึ่งมีความเป็นไปได้อยู่ 3 คือ

  1. กล้ามเนื้ออักเสบ (Myofascial Pain Syndrome)
  2. ภาวะกดทับไขสันหลัง (Myelopathy)
  3. ภาวะกดทับรากประสาท (Radiculopathy)

ทั้ง 3 โรคมาด้วยอาการชาทั้งนั้น แต่สาเหตุการชาแตกต่างกันครับ

ชื่อโรค สาเหตุการชา
กล้ามเนื้ออักเสบ ปวดร้าวชาจาก Refer Pain ซึ่งมี Trigger point มากกว่า 1 จุดได้
ภาวะกดทับไขสันหลัง ปวดร้าวชาจากหินปูนกดทับไขสันหลัง (ชา และอ่อนแรง)
ภาวะกดทับรากประสาท ปวดร้าวชาจากหมอนรองกระดูกปริ้นออกมาทับไขสันหลัง (ชา และอ่อนแรง)

 

รูปที่ 3 เรามาลองวินิจฉัยโรคเบื้องต้น ด้วยตัวเองกันเถอะ

 

การรักษาปวดบ่า ที่เกิดจาก MPS

  1. ลดอาการปวดที่เกิดจากกล้ามเนื้อ และเอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ
    1. เช่น การถือของหนักเกินไป การเกร็งกล้ามเนื้อมัดนั้นๆเป็นเวลานาน การทานยาแก้ปวด การทานยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น
  2. ลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด
    1. เช่น การทำงานในท่าทางเดิมติดต่อกันเป็นเวลานาน
    2. หลีกเลี่ยงท่าทางในการทำงานที่ไม่ถูกต้อง
    3. จัดโต๊ะทำงานให้สิ่งของที่หยิบใช้บ่อยๆ อยู่ในระยะเอื้อมถึงได้ง่าย ไม่ต้องโน้มตัวหรือเอื้อมมือไปไกล
    4. จัดเวลาการทำงานและการพักผ่อนที่ไม่เหมาะสม
  3. ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
รูปที่ 4 ท่านั่งที่ถูกต้องซึ่งจะก่อเกิดโรคในกลุ่ม ออฟฟิศซินโดรมน้อยที่สุดครับ

 

รูปที่ 5 หากจะมองแบบนักลงทุน การลงทุนซื้อเก้าอี้สุขภาพ มันโคตรจะคุ้มค่าเลย ราคาไม่ถึง 1 หมื่นบาท แต่ประหยัดค่าเวลา ค่าหมอ ค่ายา ไปได้เยอะ แถมยังทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยครับ

 

กรณีที่ 3 ปวดคอ

ในกรณีนี้ก็จะต้องแยกให้ออกระหว่างกลุ่มโรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (Muscle Strain) และ กลุ่มโรคที่เกี่ยวกับกระดูกคอเสื่อม (Cervical Spondylosis)

กลุ่มโรคที่เกี่ยวกับ
กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง กระดูกเสื่อม
อาการสำคัญ ปวดคอ หมุนคอไม่สุด เป็นมานานแล้ว ปวดคอ หมุนคอไม่สุด (มีอาการชา หรือ ไม่มีก็ได้)
สาเหตุ ทำอิริยาบถเดิมนาน ๆ ซ้ำๆ ความเสื่อมของร่างกาย
กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บซ้ำ ๆ ได้รับอุบัติเหตุ
กล้ามเนื้อขาดความยืดหยุ่น
ประวัติ ทำงานเดิม ๆ ซ้ำ ๆ อายุ 45-50 ปี
ขาดการออกกำลังกาย
ตรวจร่างกายเบื้องต้น (นอกเหนือจากการดู คลำ)
1. หมุนคอด้วยตัวเอง หมุนได้ไม่สุด หมุนได้ไม่สุด
2. ใช้มือช่วยหมุน หมุนได้สุด หมุนได้ไม่สุด

 

การรักษาปวดคอ ที่เกิดจาก MPS ด้วยตัวเอง

  1. ลดอาการปวดที่เกิดจากกล้ามเนื้อ และเอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ
    • เช่น การทานยาแก้ปวด การทานยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น
  2. ลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด
    • เช่น การทำงานในท่าทางเดิมติดต่อกันเป็นเวลานาน
    • หลีกเลี่ยงท่าทางในการทำงานที่ไม่ถูกต้อง
    • การนั่งโดยเอาศอกค้ำคางไว้

 

ปวดแขน

กรณีที่น่าสนใจ ปวดมีอาการชา-อ่อนแรงร่วมด้วย

หากเราสังเกตตัวเองแล้วว่า ไม่มีอาการชา ไม่มีอาการอ่อนแรง อาจจะบ่งบอกได้ว่าเป็นกลุ่มโรคกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นแขน แต่หากว่าเรามีอาการชาด้วย อ่อนแรงด้วย แต่ลองตรวจ Spurling test แล้วไม่พบภาวะกดทับไขสันหลังหรือรากประสาท ก็ค่อนข้างที่มั่นใจได้ว่าอาจจะเกิดจากเส้นประสาทได้รับการบาดเจ็บ หรือ โดนกดทับ ดังนั้นผู้ป่วยก็จะมีอาการอ่อนแรง หรือ ชา ได้ตามบริเวณที่เส้นประสาทนั้นๆ ไปเลี้ยง ทีนี้เรามาดูกันว่าเส้นประสาทหลักที่แขนนั้นมีอะไรบ้าง เราก็จะพบว่ามีอยู่ 3 เส้น คือ

  1. Radial Nerve
    • มีอาการข้อมือตก
    • มีอาการขาที่แขนด้านหลัง
  2. Median Nerve
    • มีอาการชามือ นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง (ครึ่งนึง)
    • กล้ามเนื้อโคนนิ้วหัวแม่มือฝ่อลีบ
    • ปวดหน้าแขน
    • มีการขยับนิ้วมือผิดปกติ
  3. Ulna Nerve
    • ขาแขน ศอกด้านในถึงนิ้วก้อย
    • นิ้วนาง นิ้วก้อยงอผิดปกติ

 

รูปที่ 6 เส้นประสาทแขนมีอะไรบ้าง มาดูกันฮะ

 

การรักษาปวดแขน ที่เกิดจาก MPS ด้วยตัวเอง

  1. ลดอาการปวดที่เกิดจากกล้ามเนื้อ และเอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ
    • เช่น การทานยาแก้ปวด การทานยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น
  2. ลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด
    • เช่น การทำงานในท่าทางเดิมติดต่อกันเป็นเวลานาน
  3. ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ

 

ปวดข้อมือ และนิ้วล็อค

ส่วนจะอยู่ในกลุ่มที่ไม่มีภาวะพร่องทางระบบประสาท เช่น

  1. De Quervain’s

สาเหตุ

  1. ใช้งานข้อมือมากเกินไป
  2. ใช้งานข้อมือในลักษณะเดิมๆซ้ำๆ ส่งผลให้เส้นเอ็น Abdutor pollicis longus และ Extensor pollicis brevis บาดเจ็บ
  3. จากนั้น Extensor Retinaculum จะหนาตัวขึ้น เป็นเหตุให้ จำกัดการเคลื่อนไหวของเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ

อาการ และอาการแสดง

  1. เจ็บเมื่อเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือ (โดยเฉพาะเมื่อขยับนิ้วโป้งมาที่กลางผ่ามือ)
  2. เจ็บเมื่อกดบริเวณเอ็น ใต้รอยต่อข้อมือ ถัดจากโคนนิ้วโป้งลงมา
  3. มีการอักเสบของเส้นเอ็น (คลำพบผิวหนังร้อน หรือ ก้อนที่บริเวณข้อมือ)
  4. กล้ามเนื้อที่ยึดต่อกับเอ็นนั้น อาจมีอาการเกร็ง แข็ง หรือ อาจมีการอักเสบ

หลักการรักษาด้วยตัวเอง

  1. เลี่ยงกิจการที่ทำให้เกิดโรค (หากอยู่ในระยะอักเสบควรพักการใช้งาน)
  2. เปลี่ยนเมาส์
  3. เปลี่ยนแผ่นรองเมาส์
  4. ใช้ยา หรือ น้ำมันนวด ที่มีส่วนผสมของสารต้านอักเสบ เช่น น้ำมันไพล หรือ ครีมนวดที่ผสมกลุ่มยา NSAID
  5. ถ้าลองรักษาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นแนะนำให้รับการรักษาจากหมอ
  6. Trigger finger

สาเหตุ

  1. เกิดจากการทำงานซ้ำๆ ตนทำให้อักเสบ และบวมขึ้นของกลุ่มเส้นเอ็น Digital Flextor Tendon
  2. เมื่อบวมขึ้นมันจะเกิดการเสียดสี ทำให้เกิดการหนาตัวขึ้นของ Pulley ซึ่งเปรียบเสมือนเข็มขัดของเส้นเอ็นนิ้วมือ

สิ่งที่ตรวจพบ

  1. กดเจ็บบริเวณ Pulley ตำแหน่งต่างๆ ที่ด้านฝ่ามือ โดยเฉพาะ Pulley A1
  2. อาจคลำได้ก้อนเกิดจากเส้นเอ็นบวม
  3. ตรวจพบการเคลื่อนไหวนิ้วฝืด หรือ ล็อค

 

อาการ และอาการแสดง

ต้องขอบอกก่อนว่าโรคนี้จะมีระยะโรคของมัน ซึ่งแบ่งได้ตามความรุนแรงของโรคครับ เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ

ระยะโรค อาการ และอาการแสดง แนวทางการรักษา
1. Pre-Triggering – กดเจ็บที่โคนนิ้วด้านหน้า

– การเคลื่อนไหวของนิ้วจะสะดุดบ้าง แต่ยังงอเหยียดนิ้วได้สุด

– ใช้ยา NSAID

– แช่น้ำอุ่น

– ท่าบริหารนิ้วล็อค

– นวดกดจุด

2. Active correctable

 

– ปวดเมื่อเคลื่อนไหว

– ยัง งอนิ้ว เข้าได้

– แต่เมื่อเหยียดจะสะดุดติด ถึงแม้จะเหยียดได้สุดก็ตาม

– ใช้ยา NSAID

– แช่น้ำอุ่น

– ท่าบริหารนิ้วล็อค

– นวดกดจุด

3. Passive correctable Passive correctable

– ต้องใช้มือช่วยเหยียด

– หรือ งอนิ้วเข้าเองไม่ได้

– ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
4. Contracture Contracture

– นิ้วล็อคค้าง นิ้วยึดติด

– ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

 

บทสรุป

ออฟฟิศซินโดรมนั้นคือกลุ่มอาการที่มักเกิดกับคนที่ทำงานออฟฟิศ หรือ คนที่ทำงานที่มีการขยับร่างกายนาน (เกรงกล้ามเนื้อนาน) หรือ กลุ่มคนที่ไม่ได้จัดท่านั่งที่ถูกต้อง

วิธีป้องกันโรคนั้นง่าย ๆ ครับ เพียงแค่ จัดท่านั่งให้ถูกต้อง หลีกเลี่ยงปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดโรค เช่น การเลือกนั่งเก้าอี้ที่ไม่เข้ากับสรีระ การใช้เมาส์ที่นานเกิน การเอามือเท้าค้าง เป็นต้น

แต่หากลองวินิจฉัยตัวเองแล้วพบว่าเป็น ออฟฟิศซินโดรมแล้ว ลองทำตามคำแนะนำไม่หาย ก็แนะนำให้ลองเข้าไปรับการรักษากับแพทย์ แพทย์แผนไทย นักกายภาพบัดบำครับ

เขียน และเรียบเรียง โดย

พท.ป. ธาร์มันษ์ ตลับเพชร์สกุล

 

อ้างอิงเนื้อหา

  1. คู่มือการตรวจร่างกายทางออร์โธปิดิกส์กับโรคทางหัตถเวชกรรมไทย
  2. https://www.muscletherapyaustralia.com.au/single-post-c18co/what-is-trigger-point-therapy
  3. bvclinics.com

 

อ้างอิงรูปภาพ

รูปที่ 1 – www.freepik.com

รูปที่ 2 – https://www.muscletherapyaustralia.com.au/single-post-c18co/what-is-trigger-point-therapy

รูปที่ 3 – หนังสือ Up Skill แพทย์แผนไทย

รูปที่ 4 – www.thaiheartfound.org/Article/Detail/140307

รูปที่ 5 – https://www.officemate.co.th

รูปที่ 6 – https://theconversation.com/

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *