การศึกษาโครงสร้างของเนื้อเยื่อหลังการรักษาด้วยการบ่งต้อลมบริเวณหลัง จากศาสตร์การแพทย์แผนไทย

การศึกษาโครงสร้างของเนื้อเยื่อหลังการรักษาด้วยการบ่งต้อลมบริเวณหลัง จากศาสตร์การแพทย์แผนไทย

จิตอนุวัต พุ่มม่วง , สุภาพร ขัดเปา , ทิราพร ดีไทยสง , พิพัฒน์ แก้วอุดม , ชเอม ขุมเพชร , วศิน บำรุงชัยชนะ , อิทธิพล พวงเพชร , ศุภวัฒน์ สายพานิช


บทคัดย่อ

บทนำ: หลักการและเหตุผล ต้อลม โรคของดวงตาที่มีลักษณะเยื่อหุ้มหัวตาหนาตัว มีจุดสีเหลืองอ่อน ปัจจุบันมีการรักษาโรคต้อด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย โดยมีวิธีการรักษาโรคต้อหลากหลายวิธี การบ่งต้อด้วยหนามหวายเป็นศาสตร์การแพทย์พื้นบ้านที่นำหนามหวายขมทำการบ่งรักษาบริเวณหลังและนำเส้นใยสีขาวที่ออกมาจากตุ่มต้อให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้เส้นใยที่เหลือจากการรักษาด้วยวิธีการบ่งต้อ ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาแน่ชัดว่าเป็นโครงสร้างส่วนใดนักวิจัยจึงสนใจทำการศึกษาเส้นใยดังกล่าวด้วยวิธีการย้อมสีพิเศษ เพื่อศึกษาโครงสร้างของเนื้อเยื่อดังกล่าวว่าตรงกับโครงสร้างชนิดใดของร่างกายและอธิบายศาสตร์การรักษาของการแพทย์แผนไทยในหลักการทางวิทยาศาสตร์ให้ชัดเจนมากขึ้น

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะทางมหกายวิภาคศาสตร์ (Gross anatomy) ลักษณะทางจุลกายวิภาคศาสตร์ (Histology) และเปรียบเทียบผลที่ได้จากการย้อมเนื้อเยื่อของผู้ป่วยโรคต้อลมกับชิ้นเนื้อบริเวณหลังของร่างอาจารย์ใหญ่ ด้วยสี Hematoxylin and Eosin และ สี Masson Trichrome

วิธีดำเนินการ: งานวิจัยนี้เป็นการทดลองในห้องปฏิบัติการ โดยผ่านคณะกรรมการจริยธรรมในมนุษย์วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก ศึกษาจากเนื้อเยื่อของผู้ป่วยโรคต้อลม ที่เข้ารับการรักษาด้วยการบ่งต้อลมด้วยหนามหวาย ณ คลินิกแพทย์แผนไทยติกิจฉาเวช วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 10 ตัวอย่าง นำไปศึกษาโครงสร้างของเนื้อเยื่อด้วยวิธีการย้อมสี Hematoxylin and Eosin และสี Masson Trichromeวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะที่ได้จากการย้อมนำมาเปรียบเทียบผลที่ได้จากการย้อมสี Hematoxylin and Eosin และสี Masson Trichrome

ผลการวิจัย: เนื้อเยื่อย้อมติดสี Eosin ลักษณะเป็นสีชมพู ไม่มีการติดสี Hematoxylin เนื้อเยื่อมีลักษณะเป็นเส้นใยกระจายตัวออกจากกัน การเรียงตัวภายในเส้นใยหนาแน่น ไม่เป็นระเบียบ และเนื้อเยื่อมีลักษณะการเรียงตัวเป็นเส้นใยหลวม ๆ ไม่เป็นระเบียบ ติดสี Eosin จางกว่าเส้นใยที่เรียงตัวแบบหนาแน่นร่วมด้วย เนื้อเยื่อผู้ป่วยต้อลมย้อมด้วยสี Masson Trichrome การย้อมติดสีฟ้าและมีบริเวนที่ติดสีแดงเข้ม

สรุป: จากการศึกษาพบว่าการย้อมสี Hematoxylin and Eosin เป็นเนื้อเยื่อที่มีการบ่งต้อลมอยู่ในชั้นหนังแท้ (Dermis) ทั้งสองชั้นคือชั้น papillary layer และ ชั้น reticular layer และการย้อมสี Masson Trichrome พบว่าเนื้อเยื่อมีการติดสีแดงมากกว่าปกติในผู้ป่วยโรคต้อลมเมื่อเทียบกับเนื้อเยื่อของร่างอาจารย์ใหญ่

 

ดาวโหลด Full Paper คลิ๊กเลย

2 thoughts on “การศึกษาโครงสร้างของเนื้อเยื่อหลังการรักษาด้วยการบ่งต้อลมบริเวณหลัง จากศาสตร์การแพทย์แผนไทย

  1. Pingback: การบ่งต้อ คติความเชื่อ และข้อเท็จจริง - พรหมวิหารคลินิก

  2. ศจี ศิริไกร says:

    เยี่ยมเลยค่ะ เขียนอธิบายได้ละเอียด มีหัวข้อชัดเจนดีมาก กำลังอยากทราบว่าเส้นใยที่ออกมาจากผิวด้านหลังคืออะไร ทำไมเอาออกแล้วถึงช่วยรักษาภาวะการเป็นต้อได้ ขอบคุณนะคะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *