ไขความลับครีมกันแดด

ไขความลับครีมกันแดด

สวัสดีค่ะสาว หลังจากที่เราพูดกันถึงเรื่องอาหารเสริมไปในบทความก่อน… วันนี้เราพูดคุยกันในหัวข้อเกี่ยวกับ “ครีมกันแดด” มีความเข้าใจว่าจะต้องทาครีมกันแดดเฉพาะตอนที่ต้องออกไปเผชิญกับแสงแดดเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนก็ไม่สามารถหลีกหนีจากรังสี UV ไปได้

ถ้าหากว่าคุณไม่ใช้อย่างต่อเนื่องเป็นประจำก็จะทำให้คุณมีผิวหน้าหมองคล้ำ ผิวเหี่ยวย่น หรือ ผิวแก่ก่อนวัยได้ง่ายอีกด้วย มาเช็คกันค่ะ!!! ว่าครีมกันแดดทั้งผิวหน้า และผิวกายที่ทาอยู่ในทุกวันเป็นวิธีที่ถูกต้องหรือยัง ?


สิ่งที่ควรทำ (Must Do)

1. เลือกผลิตภัณฑ์ให้เหมาะกับสภาพผิว 

ลักษณะผิว สูตรครีมกันแดด
คนที่มีผิวมัน / เป็นสิว สูตรที่ไม่มีน้ำมัน เนื้อบางเบาไม่อุดตันผิว
คนผิวบอบบางแพ้ง่าย สูตรสำหรับผิวแพ้ง่าย ที่มีความอ่อนโยนต่อผิว
คนผิวแห้ง สูตรที่มีความชุ่มชื้นสูงแต่มีความอ่อนโยนต่อผิว หรือ สามารถเลือกจากสรรพคุณของผลิตภัณฑ์

2. เลือกประเภทผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติตอบโจทย์ผิวเรา

ประเภทของครีมกันแดด คุณสมบัติ เหมาะกับสภาพผิว
Physical Sunscreen สะท้อนรังสี UV ออกจากผิว – ผิวแพ้ง่าย

– เด็ก และคุณแม่ตั้งครรภ์

Chemical Sunscreen ดูดซับรังสี UV ไว้ ไม่ให้ทะลุผ่านไปสัมผัสกับผิว – คนผิวธรรมดา

– ผิวแห้งขาดน้ำ

Hybrid Sunscreen สะท้อนรังสี + ดูดซับรังสี UV – เหมาะกับทุกสภาพผิว

** แต่สำหรับคนผิวแพ้ ผิวเป็นสิว แนะนำให้เลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีส่วนผสมอย่างน้ำหอม แอลกอฮอล์ ซิลิโคน และ ทัลคั่มค่ะ

รูปที่ 1 ความแตกต่างระหว่างกลไกการทำงานของครีมกันแดดประเภท Physical Sunscreen (หลายคนรู้จักในนาม Sunblock) และ Chemical Sunscreen
รูปที่ 1 ความแตกต่างระหว่างกลไกการทำงานของครีมกันแดดประเภท Physical Sunscreen (หลายคนรู้จักในนาม Sunblock) และ Chemical Sunscreen

3. เลือกผลิตภัณฑ์ที่มี SPF สูง เพื่อการปกป้องที่ดีกว่า

หากเราอยากรู้ว่าครีมกันแดดเราอยู่ได้นานแค่ไหน ให้ดูที่ค่า SPF กับเวลาที่ผิวเราเริ่มแดงเวลาโดนแดด (โดยทั่วไปจะใช้เวลาอยู่ที่ 15 นาที) จากนั้นเอาเลข 15 ไปคูณกับค่า SPF ที่เราใช้

ยกตัวอย่างเช่น

เราใช้ครีมกันแดดที่ SPF 30 ก็จะได้ว่า à 15 นาที × 30 = 450 นาที หรือประมาณ 7.5 ชั่วโมง

โดยปกติแล้วในผิวของแต่ละคนอาจจะมีความไวต่อแสงแดดที่มากกว่า 15 นาที หากเราเลือก SPF สูง ๆ ไว้ ระยะเวลาในการปกป้องจะคลอบคลุมชีวิตประจำวัน ดังนั้นถ้าจะให้ชัวร์ ๆ ควรเลือกซื้อครีมกันแดดที่มีค่า SPF มากกว่า 30 ค่ะ (เพราะ UV ไม่ได้มีเฉพาะในแสงแดด)

4. ทากันแดดประจำสม่ำเสมอ แม้เป็นวันที่อยู่บ้าน 

ต่อให้เราจะอยู่ในบ้าน หรือ ในร่ม แต่ก็ไม่สามารถหลีกหนีแสงแดดและรังสี UV ได้ทั้งหมด โดยเฉพาะรังสี UVA ที่เป็นรังสีคลื่นยาวที่มีอานุภาพสูง สามารถเล็ดลอดเข้ามาในอาคารได้ และรังสีชนิดนี้นี่แหละที่เป็นตัวการทำร้ายผิวของเราได้ลึกถึงชั้นผิวหนังแท้ หากโดนบ่อย ๆ ละก็จะส่งผลให้ “Collagen” และ “Elastin” ในผิวถูกทำลาย ทำให้เกิดริ้วรอยได้ง่าย ใบหน้าดูแก่กว่าวัย และยังเสี่ยงต่อมะเร็งผิวหนังด้วย ทาครีมกันแดดเป็นประจำทุกวันป้องกันได้ดีกว่านะคะ

 

สิ่งที่ไม่ควรทำ (Don’t Do)

1. ทาครีมกันแดดน้อยเกินไป

ปริมาณที่เหมาะสม คือ 2 ช้อนชา หรือ 2 ข้อนิ้วมือ และในขนาด 30 ml ของครีมกันแดดผิวหน้า ถูกประเมินว่าใช้เพียงพอสำหรับ 1 เดือนค่ะ ถึงแม้ครีมกันแดดไม่หมดอายุ แต่ครีมก็จะเสื่อมสภาพลงไปได้เรื่อย ๆ

ดังนั้น เราไม่ควรประหยัดใช้มากเกินไปจนเหลือเก็บใช้ไว้ได้นานมากกว่า 2 ปี เพราะว่าอายุการใช้งานของครีมกันแดดอยู่ได้เต็มที่ก็เพียง 2 ปีเท่านั้นค่ะ

2. ไม่ทาครีมกันแดดซ้ำ

หลาย ๆ คน ฟังคำโฆษณาของสินค้ากลุ่มนี้ทำให้เชื่อได้ว่า ประสิทธิภาพสูงไม่ต้องทาซ้ำก็ได้ แต่ครีมกันแดดไม่สามารถปกป้องผิวเราได้ตลอดทั้งวัน ไม่ว่าคุณจะทาไว้หนาแค่ไหนก็ตาม เปลี่ยนเป็นเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อบางเบา แต่สามารถทาซ้ำ หรือ ทาทับเมคอัพได้โดยไม่หนักและอุดตันจะดีกว่าค่ะ

รูปที่ 2 หากเชื่อโฆษณามากเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาแบบนี้ได้
รูปที่ 2 หากเชื่อโฆษณามากเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาแบบนี้ได้

ทั้งนี้ ประสิทธิภาพของครีมกันแดดนอกเหนือจาก SPF ที่เหมาะสมแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับว่า มีอะไรมาทำให้ครีมหลุดเลือนออกไปจากผิวหรือเปล่า อย่างเช่น เหงื่อ น้ำ เป็นต้น

เพื่อความชัวร์แนะนำว่า ให้ทาซ้ำระหว่างวันไปด้วย หรือ อาจใช้ครีมกันแดดรูปแบบกันน้ำเพื่อช่วยให้ติดทนดีขึ้นค่ะ

3. เลือกใช้ครีมกันแดดที่ป้องกันไม่ครอบคลุมแสง UV

ควรเลือก “ครีมกันแดด” ที่สามารถปกป้องแสง UV ได้ครบทุกตัว คือ มีทั้ง UVA และ UVB โดยเลือกครีมที่มีทั้งค่า SPF และ PA

4. ทาครีมกันแดดตัวเดียวทั้งตัว

ควรใช้แยกกันระหว่าง “ครีมกันแดด” ทาหน้า และทาตัว เนื่องจากผิวหน้ากับผิวตัวมีความต้องการการบำรุงที่แตกต่างกัน ครีมกันแดดเฉพาะจุดก็จะถูกผลิตออกมาให้เหมาะสมกับสภาพผิวในบริเวณนั้น และเพื่อเกิดประสิทธิภาพที่ดี เช่น ผิวหน้าบอบบางกว่า (ชั้นผิวบริเวณหน้าบางกว่า) ระคายเคืองได้ง่าย เกิดสิวได้ง่ายกว่าผิวกาย ไม่เหมาะกับเนื้อครีมที่หนา และหนักว่าครีม หรือ โลชันแบบผิวกายค่ะ  

รูปที่ 3 การใช้ครีมกันแดดสำหรับทาตัว ไปทาบริเวรใบหน้า อาจจะก่อให้เกิดสิว และอาการแพ้อื่น ๆ ตามมาได้ค่ะ
รูปที่ 3 การใช้ครีมกันแดดสำหรับทาตัว ไปทาบริเวรใบหน้า อาจจะก่อให้เกิดสิว และอาการแพ้อื่น ๆ ตามมาได้ค่ะ

5. ทาครีมกันแดดเฉพาะบริเวณที่อยู่นอกร่มผ้า และเลือกเฉพาะจุดเท่านั้น

เป็นเหตุผลที่ทำไมผิวคุณถึงมีสีผิวที่ไม่สม่ำเสมอกัน!!! แม้ว่าเนื้อผ้าจะปกป้องแสง UVA ได้หากสีเสื้อของคุณไม่เข้มพอ ถึงกระนั้นการใส่เสื้อสีเข้ม ๆ ก็ไม่ได้หมายความว่า ปกป้องได้ดีจนไม่ต้องทาครีมกันแดด ดังนั้นเราควรทาครีมกันแดดให้ทั่วผิว รวมถึงส่วนที่อยู่ใต้ร่มผ้าด้วย

นอกจากนี้ควรทาครีมกันแดดที่ใบหู มือ เท้า ด้วยซึ่งเป็นจุดที่คนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้สีผิวดูไม่สม่ำเสมอกัน และเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังได้ด้วยค่ะ

รูปที่ 4 หากดูจากรูปจะเห็นได้ว่า การทาครีมกันแดด คือ องค์ประกอบหลักในการผิวของคุณจากแสงแดด และรังสี UV
รูปที่ 4 หากดูจากรูปจะเห็นได้ว่า การทาครีมกันแดด คือ องค์ประกอบหลักในการผิวของคุณจากแสงแดด และรังสี UV

สรุป

ครีมกันแดดมาความสำคัญต่อสุขภาพผิวเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นทั้งสิ่งป้องกันผิวจากอันตรายที่มากับแสงแดด และรังสี UV มันยังสามารถเป็นสิ่งที่คงความสวยงามของผิวเอาไว้ด้วย ดังนั้นการเลือกครีมกันแดดคุณภาพดีเอาไว้ใช้ซักตัวเห็นทีจะไม่ใช่เรื่องที่จะละเลยกัน เราจึงขอปิดท้ายด้วยตารางสรุปความลับของสิ่งที่ควรและไม่ควรทำมาฝากค่ะ

สิ่งที่ควรทำ สิ่งที่ไม่ควรทำ
เลือกผลิตภัณฑ์ให้เหมาะกับสภาพผิว  ทาครีมกันแดดน้อยเกินไป
เลือกประเภทผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติตอบโจทย์ผิวเรา ไม่ทาครีมกันแดดซ้ำ
เลือกผลิตภัณฑ์ที่มี SPF สูง เพื่อการปกป้องที่ดีกว่า เลือกใช้ครีมกันแดดที่ป้องกันไม่ครอบคลุมแสง UV
ทากันแดดประจำสม่ำเสมอ แม้เป็นวันที่อยู่บ้าน  ทาครีมกันแดดตัวเดียวทั้งตัว
ทาครีมกันแดดเฉพาะบริเวณที่อยู่นอกร่มผ้า และเลือกเฉพาะจุดเท่านั้น

 

รวบรวมและเขียนโดย

มาริสา คุ้มญาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์

เรียบเรียงและแก้ไขโดย

พท.ป.ธาร์มันษ์ ตลับเพชร์สกุล บรรณาธิการ

 

อ้างอิง

  1. https://aquaplus.co.th/ทำไมถึงใช้ครีมกันแดด/
  2. https://allaboutyou.co.th/
  3. https://scrubbing.in/sunblock-vs-sunscreen/
  4. https://yoursummerskin.com/blogs/news/76770565-what-is-sun-safe-clothing

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *