อาหารเสริม ในมุมมองของ เวชศาสตร์
บทความนี้ผู้เขียนพยายามให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารเสริมเสริมผ่านมุมมองเวชศาสตร์ชะลอวัย และหวังว่าคุณจะได้รับบางส่วนจากบทความนี้ ดังนั้นขอให้สนุกกับการอ่านนะคะ
เวชศาสตร์ชะลอวัย คือ อะไร
เวชศาสตร์ชะลอวัย เป็นสาขาหนึ่งของการแพทย์ที่มุ่งเน้นการป้องกัน การวินิจฉัย และการรักษาโรคที่มีความเกี่ยวเนื่องกับอายุ…. เวชศาสตร์ชะลอวัยมีพื้นฐานมาจากแนวคิดที่ว่า “โลกนี้มีความเป็นไปได้ที่จะชะลอ หรือ ย้อนกลับกระบวนการชรา และส่งเสริมสุขภาพโดยรวมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
เวชศาสตร์ชะลอวัย มักเกี่ยวข้องกับวิธีการรักษาแบบองค์รวมที่นอกจากจะมองเรื่องของสุขภาพกายแล้ว ยังดูไปถึงสุขภาพจิตและอารมณ์อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ผู้สูงอายุท่านนึงความรับประทานอาหารอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ ควรออกกำลังกายแบบไหน ระยะเวลาในการออกกำลังกายนานเท่าไหร่ มีความถี่เท่าไหร่ต่อสัปดาห์ มีความเครียดหรือไม่ เครียดจากอะไร แล้วจึงบอกเทคนิคการแก้ไขให้ รวมไปถึงการแนะนำอาหารเสริมที่สามารถกินคู่กับยารักษาโรคเพื่อให้เสริมประสิทธิภาพซึ่งกันและกัน
ถึงแม้ว่าวิธีการบางอย่างที่ใช้ใน “เวชศาสตร์ชะลอวัย” ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่า “มีประโยชน์ต่อสุขภาพ” แต่สิ่งที่สำคัญ คือ หลักฐานทางวิทยาศาสตร์เหล่านั้นยังมีปริมาณที่ไม่เพียงพอเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่นักขายอาหารเสริมหลาย ๆ ท่านพยายาม Claims กัน
อาหารเสริม คือ อะไร
อาหารเสริม คือ สารอาหารที่ใช้รับประทานเพิ่มเติมจากมื้ออาหารหลัก อาจใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ หรือ เพื่อบำรุงสุขภาพตามความเชื่อของบางบุคคล.. ในปัจจุบันมีอาหารเสริมหลากหลายชนิดที่ “เคลม” ว่ามีฤทธิ์ anti-aging ได้ เช่น วิตามินต่าง ๆ, แร่ธาตุต่าง ๆ, และ สมุนไพรหลากหลายชนิด เป็นต้น
แต่ถึงจะพูดแบบนั้นก็ไม่ได้หมายความว่ามันคือคำโฆษณาขายของ 100% เนื่องจากว่าหลาย ๆ สถาบันก็ยังผลิตผลงานวิจัยเพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพ และตรวจสอบคำเคลมเหล่านี้ออกมาเรื่อย ๆ ค่ะ ดังนั้นวันนี้เราจะมาดูอาหารเสริมส่วนหนึ่งที่ได้รับการพิสูจน์มาแล้วในระดับสากลกันค่ะ
Antioxidants:
สารเหล่านี้ช่วยปกป้องเซลล์ของร่างกายจากความเสียหายที่เกิดจากอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นโมเลกุลที่ไม่เสถียรที่สามารถทำร้ายเซลล์ และมีส่วนทำให้เกิดกระบวนการชราได้ ตัวอย่างของสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามิน A, C และ E รวมทั้งซีลีเนียมและเบต้าแคโรทีน เป็นต้นค่ะ
Omega-3 fatty acids:
กรดไขมันเหล่านี้พบได้ในปลาที่มีไขมันและน้ำมันจากพืชบางชนิดเท่านั้น ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ นอกจากนี้มันยังอาจช่วยปรับปรุงสุขภาพหัวใจ และการทำงานของสมองได้ดีอีกด้วย
Resveratrol:
สารตัวนี้พบได้ในองุ่น ผลเบอร์รี่ และไวน์แดง และมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระ การศึกษาบางชิ้นแนะนำว่าอาจช่วยเพิ่มความไวของอินซูลิน (Insulin) และลดความเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวข้องกับอายุได้ดีค่ะ
Coenzyme Q10 (CoQ10):
สารตัวนี้พบได้ในร่างกายของเรา ซึ่งมันเกี่ยวข้องกับการผลิตพลังงานในร่างกาย นอกจากนี้ยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และอาจมีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้อีกด้วย การศึกษาบางชิ้นแนะนำว่าอาหารเสริม CoQ10 อาจช่วยส่งเสริมสุขภาพหัวใจและลดความเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวข้องกับอายุได้อย่างมีนัยยะสำคัญอีกด้วยค่ะ
ร่างกายของเราต้องการอาหารเสริมจริง ๆ เหรอ
ความต้องการสารอาหารของร่างกายแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆประการ เช่น อายุ เพศ ขนาด น้ำหนัก ระดับกิจกรรมทางกาย (Activity) และสุขภาพโดยรวม… บางคนอาจได้ประโยชน์จากการรับประกานอาหารเสริมเพื่อช่วยให้ได้รับสารอาหารตามที่ตนเองต้องการ ในขณะที่บางคนอาจจะไม่ได้ต้องการสารอาหารเสริมเหล่านี้เนื่องเพราพวกเขาได้รับจากอาหารหลักอย่างเพียงพอแล้ว
ปกติแล้ว ผู้เขียนจะแนะนำให้คนรับประทานอาหารจากหลาย ๆ แหล่งเพื่อให้ได้มาซึ่งสารอาหารที่หลากหลาย แต่ !!! คนไหนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการขาดสารอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือ คนไหนที่ประเมินแล้วว่าหากได้รับสารอาหารชนิดนี้จะช่วยส่งเสริมสุขภาพได้ก็จะแนะนำอาหารชนิดนั้น ๆ ให้ค่ะยกตัวอย่างเช่น
- ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร หรือ แพ้อาหาร อาจมีปัญหาในการได้รับสารอาหารบางอย่างจากอาหารของตน และอาจจำเป็นต้องรับประทานอาหารเสริม ก็จะแนะนำ Probiotic
- สตรีมีครรภ์และผู้สูงอายุอาจต้องการสารอาหารเพิ่มขึ้นเช่นกัน และอาจได้ประโยชน์จากการรับประทาน อาหารเสริมประเภทวิตามินรวม เป็นต้นค่ะ
อย่างไรก็ตาม ราพึงระลึกเสมอว่า อาหารเสริมไม่ได้สามารถทดแทนอาหารหลักได้ (ไม่ควรใช้เป็นแหล่งอาหารเพียงแหล่งเดียว) และแน่นอนค่ะว่า “มันเป็นความคิดที่ดีเสมอหากจะปรึกษาหมอ หรือผู้เชียวชาญ กับบุคคลกรทางการแพทย์ก่อนที่จะเริ่มรับประทานอาหารเสริม เพราะอาหารเสริมบางชนิดอาจจะมีปฏิกิริยากับยา (Food-Drug Interaction) หรือ มีผลข้างเคียงอื่น ๆ (Side Effect) ได้” บุคคลกลุ่มดังกล่าวจะสามารถช่วยในการ
- พิจารณาว่า อาหารเสริมนั้นเหมาะสมกับคุณหรือไม่
- สามารถแนะนำปริมาณที่ควรรับประทานได้
- สามารถชี้แจง ระยะเวลาการรับประทานที่เหมาะสมได้อีกด้วย
อาหารเสริมสามารถแก้ปัญหาสุขภาพได้จริงหรือไม่
หากตอบในมุมของ “เวชศาสตร์ชะลอวัย” ก็พอจะทำได้ค่ะ เมื่อเราอายุมากขึ้น ร่างกายของเราอาจจะอ่อนแอต่อลง และมีปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น อาการปวดข้อ, ความจำเสื่อมถอย, และโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น ซึ่งอาหารเสริมบางประเภทก็พอจะช่วยพยุงให้ร่างกายชะลอความเสื่อมลงไปได้
ยกตัวอย่างที่ 1 การใช้อาหารเสริมเพื่อ Support ข้อต่อ
กลูโคซามีน (glucosamine) คือ สารประกอบที่พบได้ในร่างกาย มนทำหน้าที่เกี่ยวกับการสร้าง และซ่อมแซมกระดูกอ่อน… ปัจจุบันเราพบว่า กลูโคซามีนสามารถลดการอักเสบ และช่วยทำให้ข้อต่อทำงานได้ดีขึ้นในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม รวมไปถึงคนที่ปวดข้ออื่น ๆ ด้วย
ยกตัวอย่างที่ 2 การใช้อาหารเสริมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง
กรดไขมันโอเมก้า 3 หรือ omega-3 fatty acids คือ ไขมันจำเป็นที่มีบทบาทสำคัญในสุขภาพสมอง อาหารเสริมโอเมก้า 3 ซึ่งพบในปลาที่มีไขมันสูง เช่น ปลาแซลมอนและปลาแมคเคอเรล ปัจจุบันเราพบว่ามันช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกระบวนการคิด รวมถึงความจำและสมาธิในผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมค่ะ
ยกตัวอย่างที่ 3 การใช้อาหารเสริมเพื่อบำรุงหัวใจและหลอดเลือด
สารต้านอนุมูลอิสระ (anti-oxidants) เช่น วิตามิน C และ E สามารถช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจโดยการปกป้องเซลล์จากความเสียหายที่เกิดจากอนุมูลอิสระ นอกจากสารต้านอนุมูลอิสระและ CoQ10 แล้ว อาหารเสริมอื่นๆ ที่อาจใช้เพื่อสนับสนุนสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ แมกนีเซียมซึ่งช่วยควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต และแอล-อาร์จินีน กรดอะมิโนที่ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดค่ะ
สรุป
อาหารเสริม คือ แหล่งอาหารที่สามารถทดแทนสารอาหารที่ขาดหลังจากการรับประทานอาหารหลัก และ เป็นสารอาหารที่ขาดสำหรับกลุ่มคนที่ต้องการสารอาหารนั้น ๆ เป็นพิเศษ เช่น ผู้สูงอายุ ต้องการ Vitamin D และ Calcium ในประมาณที่เหมาะสมเพื่อลดการสลายตัวของกระดูก เป็นต้น ดังนั้นเราไม่ควรรับประทานอาหารเสริมแทนอาหารหลัก และควรพิจารณาความเป็นไปได้ถึงสรรพคุณของอาหารเสริมจากผลการวิจัยมากกว่าหลงเชื่อคำโฆษณาของนักขายค่ะ
ผู้เขียนหวังอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มคนที่รักสุขภาพ และอยากมี Optimal Health ค่ะ หากท่านใดต้องการปรึกษาเรื่องอาหารเสริม หรือ การใช้ยาสมุนไพรสามารถแอดเข้ามาพูดคุยกันได้ที่ Line Open Chat ตาม QR Code ด้านล่างนี้ หรือ คลิกที่นี่ ได้เลยค่ะ 😀
รวบรวมและเขียนโดย
มาริสา คุ้มญาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์
เรียบเรียงและแก้ไขโดย
พท.ป.ธาร์มันษ์ ตลับเพชร์สกุล บรรณาธิการ
อ้างอิง
- “Anti-aging medicine” by J.E. Johnson (Current Opinion in Internal Medicine, 2010)
- “Anti-aging medicine: Hype or hope?” by M.J. Holford and J.R. Garnett (Clinical Pharmacology and Therapeutics, 2005)
- “Antioxidants and age-related diseases” by R.S. Sohal and B.S. Forster (Annals of the New York Academy of Sciences, 2003)
- “Omega-3 fatty acids in the prevention of cardiovascular disease” by R.J. Deckelbaum and I. Torre-Bueno (New England Journal of Medicine, 1996)
- “Resveratrol and its potential role in the prevention and treatment of age-related diseases” by A. Baur and D. Sinclair (Nature Reviews Drug Discovery, 2006)
- “Coenzyme Q10 and aging” by B.L. Beal (Annals of the New York Academy of Sciences, 2004)
- “Dietary supplements: What you need to know” by the Office of Dietary Supplements (National Institutes of Health)
- “Supplements and nutrients” by the Academy of Nutrition and Dietetics
Pingback: ลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วด้วยการกระตุ้น “กลูคากอน” - พรหมวิหารคลินิก
Pingback: ชะลอการเกิด "มะเร็ง" ด้วย Flavonoids - พรหมวิหารคลินิก
Pingback: ป้องกันการเกิด "โรคหัวใจ" ด้วยสาร Tannin - ซีรี่การค้นพบความลับแห่งธรรมชาติ - พรหมวิหารคลินิก