ป้องกันการเกิด “โรคหัวใจ” ด้วยสาร Tannin – ซีรี่การค้นพบความลับแห่งธรรมชาติ

ฉบับย่อ

  • สารกลุ่ม Tannin คือ สารชีวโมเลกุลโพลีฟีนอลในธรรมชาติ
  • สารกลุ่ม Tannin พบได้จาก ผลไม้ ถั่วบางชนิด ธัญพืชบางชนิด เป็นต้น
  • กลไกการออกฤทธิ์ในการต้านอักเสบ คือ ยับยั้งการส่งสัญญาณของ NF-kappa B
  • กลไกการออกฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ คือ บริจาค hydrogen atom
  • กลไกการป้องกันการเกิดโรคหัวใจ คือ การลดไขมันเลวได้, ลดการอักเสบได้, และยังสามารถป้องกัน Oxidative Stress
  • ปัจจุบันมีอาหารเสริมมากมายที่อุดมไปด้วย Tannin

ป้องกันการเกิดโรคหัวใจด้วยสาร Tannin – ซีรี่การค้นพบความลับแห่งธรรมชาติ

แทนนิน คือ อะไร

แทนนิน หรือ Tannin คือ สารชีวโมเลกุลโพลีฟีนอล (polyphenolic) ชนิดหนึ่งที่พบได้ทั่วไปในพืชที่มีเนื้อไม้ ปัจจุบันเรารู้กันดีว่า Tannin มีฤทธิ์ในการสมานแผล และสามารถจับและตกตะกอนโปรตีน และสารประกอบอินทรีย์อื่น ๆ

นอกจากนี้ทางการแพทย์แผนไทยประยุกต์ก็ได้ระบุเอาไว้ว่า สารกลุ่มนี้จะพบได้ในสมุนไพรที่มีรสฝาด ซึ่งสรรพคุณหลัก ๆ ที่นำมาใช้ คือ การสมานแผล และรักษาในกลุ่มโรคผิวหนัง เนื่องด้วยคุณสมบัติเหล่านี้เองคนโบราณจึงนำสารกลุ่มนี้มีฟอกหนังสัตว์เพื่อเตรียมที่จะนำมาตัดเป็นเครื่องหนังสวย ๆ ค่ะ

ราว ๆ ปี ค.ศ. 1998 เป็นต้นมาได้มีบทความรีวิวเชิงวิชาการนานชาติตีพิมพ์ออกมามากมาย ซึ่งหลายๆงานวิจัยได้พิสูจน์เอาไว้ว่า Tannin มีผลทางสรีรวิทยาที่หลากหลาย เช่น การเร่งการแข็งตัวของเลือด, การลดความดันโลหิต, ลดระดับไขมันในเลือด, และการปรับภูมิคุ้มกัน เป็นต้น

รูปที่ 1 Tannin สารเคมีจากธรรมชาติ ดูแข็ง ๆ ไม้ ๆ แบบนี้ แต่ประโยชน์เยอะนะจ๊ะ

บทความนี้เราได้จัดอันดับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่โดดเด่นของ Tannin ให้ผู้อ่านทุกท่านได้ชมกันค่ะ ซึ่งจะขอคัดมา 3 อันดับได้แก่ การต้านอักเสบ, การต้านอนุมูลอิสระ, และการป้องกันหัวใจนั่นเองค่ะ

 

กลไกการออกฤทธิ์ของแทนนิน

แน่นอนว่ากลไกการออกฤทธิ์อาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับผู้บริโภค แต่การรู้เอาไว้ซักหน่อยจะช่วยให้เราสามารถชั่งน้ำหนักการเลือกทานอะไร ๆ ได้หลายอย่างเลย และที่สำคัญความรู้เหล่านี้จะเป็นดั่งกำแพงป้องกันเราจากกลุ่มคนที่ต้องการหลอกขายสินค้าต่าง ๆ ได้อย่างดีด้วย

การต้านอักเสบ

หลากหลายผลงานวิจัยได้ให้ผลลัพธ์ที่ตรงกันว่า สารกลุ่ม Tannin มีฤทธิ์ในการต้านอักเสบได้ โดยกลไกการออกฤทธิ์ของแทนนิน คือ การลดระดับของ Reactive oxygen species และยับยั้งการส่งสัญญาณของ NF-kappa B ซึ่งกลไกเหล่านี้ลวดนำไปสู่การลดการอักเสบทั้งสิ้นค่ะ

รูปที่ 2 สตอเบอร์รี่แสนอร่อย แต่อัดแน่นด้วยสารแทนนิน ซึ่งสามารถลดการอักเสบได้ดี งานวิจัยชิ้นนี้ได้ระบุไว้ว่า มันสามารถรักษาเยื่อบุกระเพาะอาหารได้ค่ะ

การต้านอนุมูลอิสระ

สารกลุ่ม Tannin มีศักยภาพในการกัดกินสารอนุมูลอิสระและป้องกันความเสียหายของเซลล์และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันธ์โดยปฏิกิริยา Oxidation ค่ะ โดยกลไกการต้านอนุมูลอิสระของสารแทนนิน คือ คุณสมบัติการบริจาคอะตอมไฮโดนเจน (donate hydrogen atom) และไอออนของโลหะที่เป็น Chelate นั่นเองค่ะ

การป้องกันหัวใจ

Tannin มีผลต่อหัวใจมากกว่าที่หลาย ๆ คนจะคาดถึง เพราะมันสามารถป้องกันหัวใจจากการอักเสบ และ damage จากสารอนุมูลอิสระในสัตว์ทดลองได้ โดยสาเหตุที่มันสามารถทำแบบนี้ก็เพราะว่า Tannin สามารถลดไขมันเลวได้, ลดการอักเสบได้, และยังสามารถป้องกัน Oxidative Stress ได้ รวมไปถึงต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือดอีกด้วยค่ะ

อันที่จริงแล้วสารกลุ่ม Tannin ยังมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอีกมากมายที่น่าสนใจ เช่น การป้องกันระบบประสาท, การต้านเนื้องอก, และการต้านการกลายพันธ์ของเซลล์ เป็นต้น ซึ่งเราอาจจะมีพูดถึงมันในบทความหน้า หากผู้อ่านให้ความสนใจมันค่ะ

 

แหล่งที่พบตามธรรมชาติ

ปัจจุบันเราพบว่าแหล่งอาหารหลักที่พบแทนนิน คือ

  1. ผลไม้ เช่น แอปเปิ้ล, แครนเบอรรี่, สตอเบอร์รี่, และเบอร์รี่ต่าง ๆ เป็นต้น
  2. ถั่ว เช่น ถั่วลิสง, และวอลนัท
  3. พืชตระกลูถั่ว เช่น ถั่วชิกพี
  4. ธัญพืช เช่น ข้าวบาร์เลย์ และข้าวฟ่าง เป็นต้น
  5. เครื่องดื่ม ก็จะเป็นพวกชา และไวน์แดง ค่ะ

อ่ะ ไหน ๆ ก็มาเรื่องไวน์ (องุ่น) แล้ว เราจะขอฝอยเรื่องนี้กันซักหน่อย องุ่น คือ แหล่งผลไม้ที่อุดมไปด้วยแทนนินที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งที่นอกจากจะเป็นตัวกำหนดความซับซ้อนในแง่ของรสชาติของไวน์แล้ว มันยังช่วยปรับสมดุลรสชาติของ “เนื้อวัว” เมื่อเรากินมันคู่กันค่ะ

รูปที่ 3 ไวน์แดง กับ เนื้อพรีเมี่ยม เป็นของคู่กันจริง ๆ เพราะไวน์แดงมันสามารถชะล้างรสชาติไขมันส่วนเกินของเนื้อออกไป ทำให้รสชาติของเนื้อกลมกล่อมมากขึ้น นอกจากนี้ไวน์แดงยังสามารถกระตุ้นต่อมรับรสของลิ้นเราได้ดี ด้วยเหตุนี้ไวน์จึงสามารถชูและดึงรสชาติของเนื้อออกมาได้เต็มที่ค่ะ

เพราะอะไรเราจึงบอกแบบนั้น?….. เนื่องจากไวน์แดง หรือ ไวน์องุ่น ประกอบไปด้วยสารแทนนิน ยิ่งเป็นไวน์ที่เข้มมากเท่าไหร่ ยิ่งมีปริมาณสารแทนนินมากขึ้นเท่านั้น และเมื่อเราจับคู่ไวน์ที่เข้มข้นกับเนื้อที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อหน้าแข้ง สันคอ ซี่โครงหน้า… เจ้าตัวแทนนินจะช่วยปรับความสมดุลของรสชาติไขมันจากเนื้อได้กลมกล่อมมากยิ่งขึ้นนั่นเองล่ะค่ะ

 

5 อันดับอาหารเสริมที่มีแทนนิน

สารสกัดจากใบมะกอก (Olive Leaf Extract)

ใบมะกอกมีสารแทนนิน และมันมักจะถูกใช้ในการทำอาหารเสริม แต่ในไทยอาจจะหายากซักหน่อย ซึ่งสารสกัดจากใบมะกอกสามารถพบได้ในรูปแบบแคปซูล หรือ ซอฟเจลซะมากกว่าค่ะ

สารสกัดจากชาเขียว (Green tea Extract)

เป็นที่รู้กันดีว่า ชาเขียวเป็นแหล่งที่มากไปด้วยสารเคมีธรรมชาติที่หลากหลาย และหนึ่งในสารหลาย ๆ ชนิดนั้น คือ แทนนิน ค่ะ ซึ่งชาวจีนนิยมและบริโภคกันเยอะเป็นว่าเล่น เพราะเขาเอามาทำเครื่องดื่มแทบจะแทนน้ำเปล่ากันเลยทีเดียว แต่ในขณะเดียวกันเขาก็เอามาแปรรูปให้อยู่ในแคปซูล หรือ ผง เพื่อง่ายต่อการเก็บและการทาน รวมไปถึงขนส่งง่ายกว่าด้วยค่ะ

รูปที่ 4 ชาเขียว ของดีที่อยู่คู่กับชาวจีนมาหลายพันปี ถ้าไม่ดีจริง คงจะไม่อยู่กับชาวจีนมายาวนานขนาดนี้

 

สารสกัดจากแครนเบอร์รี่ (Cranberry Extract)

แครนเบอร์รี่ก็เป็นอีกแหล่งขุมทรัพย์แทนนินที่ชาวตะวันตกนิยมนำมาทำอาหารเสริมเพื่อสุขภาพกันค่ะ

สารสกัดจากโกโก้ (Cocoa Extract)

โกโก้ เป็นพืชที่นิยมสุด ๆ เพราะคงปฏิเสธไม่ได้ว่ามันเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกเนื่องจากความอร่อยของมัน แต่รู้หรือป่าวว่า เจ้าโกโก้เนี่ย ยังเป็นแหล่งที่เก็บสารแทนนินอีกด้วย

สารสกัดจากทับทิม (Pomegranate Extract)

ทับทิม แสนอร่อย ผลไม้สีสวยที่รู้กกันดีสำหรับชาวสยาม มักเป็นอีก 1 แหล่งที่เก็บแทนนินเอาไว้ซึ่งแน่นอนว่าทานแล้วต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี มันจึงเป็นเหตุที่ว่ามันจึงเป็นที่นิยมเอามาทำเครื่องสำอาง หรือ เครื่องประทินผิวของสาว ๆ ค่ะ

 

สรุป

แทนนิน หรือ Tannin คือ สารสำคัญที่อยู่พืช ซึ่งถูกค้นพบและถูกนำมาใช้ประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านการส่งเสริมสุขภาพค่ะ นอกจากนี้มันยังถูกนำมาแปรรูปให้เป็นอาหารเสริมเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของสารแทนนินให้ดียิ่งขึ้นนั่นเองล่ะค่ะ

 

รวบรวมและเขียนโดย

มาริสา คุ้มญาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์

เรียบเรียงและแก้ไขโดย

พท.ป.ธาร์มันษ์ ตลับเพชร์สกุล บรรณาธิการ

อ้างอิง

  1. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/9759559/
  2. https://www.delightedcooking.com/what-is-tannin.htm
  3. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/36029537/
  4. https://www.intechopen.com/chapters/64330
  5. https://www.healthbenefitstimes.com/nutrition/tannins/
  6. https://www.livestrong.com/article/299312-foods-containing-tannic-acid/
  7. https://www.decanter.com/learn/food/christmas-beef-wine-pairing-tips-351001/
  8. https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S1043661816306089

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *