บทสรุปผลกระทบของ Terpenes ต่อสุขภาพ – ซีรี่การค้นพบความลับแห่งธรรมชาติ

ฉบับย่อ

  • Terpenes คือ สารประกอบธรรมชาติที่มากไปด้วยประโยชน์ใช้สอยต่าง ๆ โดยมนุษย์ได้นำสิ่งเหล่านี้มาใช้กันตั้งแต่อดีตกาลจวบจนปัจจุบัน และมีแนวโน้มที่จะใช้ต่อไปในอนาคต
  • Terpene มีความโดดเด่นในเรื่องของการต้านอนุมูลอิสระ, การเพิ่มความสามารถในการซึมผ่านผิวหนังของสารอื่น, และการต้านอักเสบ
  • กลไกการออกฤทธิ์ของ Terpene ในการอนุมูลอิสระ คือ การบริจาคอะตอมไฮโดรเจนหรืออิเล็กตรอน เพื่อทำให้ ROS เกิดความเสถียร ในขณะที่กลไกการออกฤทธิ์การจ้านอักเสบยังคงต้องศึกษากันเพิ่มเติม
  • สารกลุ่ม Terpene มี penetration-enhancing effect เนื่องจากโครงสร้างทางเคมีของมัน และความสามารถในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผิวหนังชั้น stratum corneum เล็กน้อยเพื่อให้สาร Terpene และสารอื่นๆสามารถซึมผ่านเข้าผิวหนังมนุษย์ได้ง่ายขึ้น

บทสรุปผลกระทบของ Terpenes ต่อสุขภาพ – ซีรี่การค้นพบความลับแห่งธรรมชาติ

เทอร์ปีนส์ คือ อะไร

Terpenes คือ สารประกอบธรรมชาติ (Natural compounds) ประเภทหนึ่งที่ผลิตโดยพืช โดยเฉพาะพวกต้นสนค่ะ… Terpenes ลักษณะเฉพาะตัวด้วยโครงสร้างไฮโดรคาร์บอนที่ไม่อิ่มตัว และสามารถจำแนกเพิ่มเติมตามจำนวนของคาร์บอนที่พวกมันมีอยู่ เช่น โมโนเทอร์พีน เซสควิเทอร์พีน และไดเทอร์พีน เป็นต้น

Terpenes เป็นสารประกอบธรรมชาติที่มีกลิ่นหอมมาก มันหอมระดับที่ทำให้คนและสัตว์หลายชนิดหลงใหลมันได้ และปัจจุบันคนเรานี้แหละได้นำมันมาแต่งกลิ่น แต่งรสชาติในเภสัชภัณฑ์ (ศึกษาเพิ่มเติมจากคลิป คลิ๊ก)

 

รูปที่ 1 ปัจจุบัน Terpene ได้มีบทบาทสำคัญมาก ๆ ในด้านการแพทย์การสังเคราะห์สารกลุ่ม Steroids บางอย่างซึ่งเป็นอนุพันธ์ของ Triterpene squalene เป็นต้น

 

กลไกการออกฤทธิ์ของเทอร์ปีนส์

เนื่องจากสารในกลุ่ม Terpene เป็นกลุ่มสารที่น่าสนใจ นักวิทยาศาสตร์หลายท่านจึงได้นำมันมาศึกษากันอย่างกว้างขวาง ซึ่งเขาก็พบว่าสารกลุ่ม Terpene นี้เองมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่โดดเด่นอยู่หลายอย่าง แต่เราขอนับมาบอกกล่าวท่านผู้อ่านจะขอรวบรวมมาเพียง 3 อันดับ top ๆ เท่านั้นค่ะ

ต้านอนุมูลอิสระ

สาร Terpene นับได้ว่าสามารถต้านอนุมูลอิสระได้ชะงักนักแล ด้วยคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระนี้เองทำให้สาร terpene สามารถป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด, มะเร็ง, และโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของประสาทได้

ปัจจุบัน ต้องยอมรับว่าในวงการนักวิชาการยังเข้าใจ กลไกการออกฤทธิ์ของ Terpene ได้ไม่สมบูรณ์นัก แต่ก็พอจะบอกว่าได้ว่า Terpene กำจัดสารอนุมูลอิสระได้โดย การบริจาคอะตอมไฮโดรเจนหรืออิเล็กตรอน (Hydrogen or Electron donor) เพื่อทำให้ Reactive oxygen species (ROS) เกิดความเสถียรและป้องกันความเสียหายจากปฏิกิริยา Oxidation นั่นเองค่ะ

อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียง 1 กลไกการออกฤทธิ์ของสาร Terpene เท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมันสามารถทำได้มากกว่านั้น เพียงแต่ต้องอาศัยระยะเวลาให้นักวิจัยได้ศึกษาเพิ่มเติมต่อไปค่ะ

ช่วยส่งเสริมการดูดซึมยาตัวอื่นผ่านผิวหนัง

สารกลุ่ม Terpene จากธรรมชาติ อย่างเช่น menthol, menthone, และ 1,8-cineole มีฤทธิ์สูงแต่มีความเป็นพิษที่ต่ำ ทำให้กลายเป็นสารที่เพิ่มการแทรกซึมของตัวยาอื่น ๆ หรือ สารอื่น ๆ ผ่านทางผิวหนังได้ดีล่ะ ด้วยเหตุนี้เองเราอาจจะอนุมานได้ว่า ยาแผนโบราณถูกคิดค้นมาอย่างดี โดยเฉพาะยานวด หรือ สีผึ้งที่ใช้นวดบรรเทาปวดกล้ามเนื้อต่าง ๆ ที่เขามักจะผสมพวก Menthol หรือ พวกน้ำมันหอมระเหยสะระแหน่ไทย, มิ้น, สะระแหน่ฝรั่ง ลงไปในสูตรเสมอ

 

รูปที่ 2 Memthol หรือ สะระแหน่ หรือ มิ้น มีส่วนประกอบที่เป็น Terpenes อยู่ มันจึงเพิ่มการซึมผ่านเข้าสูงผิวหนังได้ดี โดยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผิวหนังชั้น SC ของมนุษย์ชั่วคราว

 

ทำไม Terpene ถึงสามารถเพิ่มการดูดซึมของยาอื่น ๆ หรือ สารอื่น ๆ ผ่านผิวหนังได้ล่ะ? นั่นเป็นเพราะว่า เจ้าตัว Terpene เองสามารถทะลุผ่านผิวหนังมนุษย์ได้ดีเนื่องจากโครงสร้างทางเคมีของมันเอง (Log p 2.13-5.36) และมันยังสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผิวหนัง (stratum corneum; SC) ให้สารอื่นทะลุผ่านได้ง่ายขึ้นแบบชั่วคราว คุณสมบัตินี้เราเรียกว่า “penetration-enhancing”

นอกจากนี้ Terpene ยังสามารถเพิ่มความสามารถในการละลาย และความเสถียรของสารประกอบอื่น ๆ ซึ่งสามารถเพิ่มการดูดซึมผ่านผิวหนังได้ดีอีกระดับหนึ่งอีกด้วยค่ะ

ต้านอักเสบ

สาร Terpenoid ที่อยู่ใน Class ย่อยของ Terpene ได้ถูกศึกษามาอย่างดีแล้วว่ามันสามารถต้านอักเสบได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งนอกจากจะต้านอักเสบได้แล้วมันยังมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอื่น ๆ เช่น ฤทธิ์ต้านไวรัส ต้านแบคทีเรีย ต้านมาเลเรีย ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด และต้านมะเร็ง เป็นต้น

ปัจจุบัน นักวิชายังไม่สามารถฟันธงได้ว่า กลไกการออกฤทธิ์ของ Terpene ในการต้านอักเสบ ทำงานอย่างไร แต่ผู้เขียนเชื่อว่าอีกไม่นานนับจากปี 2023 อาจจะมีข้อมูลเหล่านี้เผยแพร่มาให้เราได้ทราบได้อย่างแน่นอนค่ะ

รูปที่ 3 หากพูดถึง Terpenes แต่ยังกล่าวถึง “cannabis” คงเป็นไปไม่ได้ เพราะพืชตระกูลกัญ มีส่วนประกอบของ Terpenes ค่อนข้างมาก และมีกลิ่นหอมเฉพาะที่เป็นอัตลักษณ์มาก

 

แหล่งที่พบตามธรรมชาติ

  1. ต้นสน: แหล่ง terpene ที่สำคัญของโลกเลยก็ว่าได้ เพราะต้นสนเหล่านี้สามารถผลิต monoterpenes และ sesquiterpenes ได้ในปริมาณที่สูงลิ่ว
  2. ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวบางชนิด: ยกตัวอย่างเช่น ส้ม, มะนาว, เกรปฟรุต เป็นต้น ผลไม้เหล่านี้อุดมไปด้วย Limonene ซึ่งจัดว่าเป็น terpene ทั่วไปที่มีกลิ่นหอมของส้มที่แตกต่างกันไปในแต่ละสายพันธ์
  3. สมุนไพรบางชนิด: เช่น โรสแมรี่ โหระพา โหระพา และสะระแหน่ เป็นต้น แต่ที่มีสาร Terpene ในปริมาณที่สูง คือ พิมเสน และไฟทอล ค่ะ
  4. กัญชา: หากพูดถึง Terpene จะขาดกัญชาไปก็ไม่ได้แหละ เพราะในกัญชาอุดมไปด้วย Terpenes หลายร้อยชนิดด้วยกัน (โคตรเยอะ) แต่ที่มีมากสุด ๆ เลยก็คือ Myrcene ซึ่งเป็น Terpene ที่หอมเฉพาะตัว นอกจากนี้ยังมี Terpenes อื่นๆ อีก เช่น limonene, pinene และ caryophyllene เป็นต้นค่ะ
  5. ฮอป หรือ Hops: หากใครเป็นคอเบียร์คงจะรู้จัก Hops กันดี เพราะคนนิยมนำมันมาผลิตเบียร์นั่งเอง เหตุที่เป็นเช่นนั้นคือ Hops มีปริมาณของ Myrcene ที่สูง ทำให้เป็นแหล่งที่ให้กลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์ของ Terpene ในเบียร์นั่นเองล่ะค่ะ
  6. มะม่วง: นี่คือผลไม้ที่ปริมาณของ Myecene ที่สูงตัวหนึ่ง ดังนั้นใครกินมะม่วงก่อนสูบกัญชาอาจจะส่งผลให้เกิดการ Overdose ได้นะค่ะ
  7. ลาเวนเดอร์: ลาเวนเดอร์เป็นแหล่งของ Linalool ซึ่งเป็น Terpene ที่มีกลิ่นหอมของดอกไม้ นอกจากนี้ Linalool ยังพบในกัญชาหลายสายพันธุ์และเชื่อว่ามีผลทำให้สงบ

นี่เป็นเพียง 7 อันดับที่เราสามารถพบ terpene ได้ตามธรรมชาตินะค่ะ ซึ่งจริง ๆ แล้วเนี่ยยังมีพืช ผลไม้อีกมากมายหลายร้อยชนิดที่เรายังไม่ได้นำมาบอก (แค่นี้ก็อ่านกันตาแฉะแล้วล่ะค่ะ)

 

5 อาหารเสริมที่มีเทอร์ปีนส์

  1. CBD Oil with Terpenes: อาหารเสริมนี้รวมประโยชน์ของ CBD กับ terpenes เอาไว้ด้วยกัน เพื่อช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย และลดความวิตกกังวล
  2. Essential Oil Blends: ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ Terpene ชนิดต่างๆ เพื่อทำให้เกิดความหอม คลายเครียด บำบัดอาการทางใจ โดยส่วนผสมยอดนิยม ได้แก่ ลาเวนเดอร์, เปปเปอร์มินต์, ยูคาลิปตัส, และทีทรี
  3. Terpene-Infused Beverages: บางบริษัทกำลังเพิ่ม Terpene ในเครื่องดื่ม เช่น เบียร์และชา เพื่อเพิ่มรสชาติและให้ประโยชน์ต่อสุขภาพเพิ่มเติม
    • ยกตัวอย่างเช่น เบียร์ Hi-Fi Hops ของ Lagunitas Brewing Company ได้ใส่ Myrcene และ Limonene เพื่อทำให้คนดื่มผ่อนคลายมากขึ้น ลดความเครียดได้มากขึ้น เป็นต้น
  4. อาหารเสริม Terpene: หลายบริษัทผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Terpene มาแล้วมากมาย ไม่ว่าเป็นรูปแบบ Capsule หรือ Crewable ก็ตาม ซึ่งฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาเด่นๆคือต้องการให้ต้านอักเสบ และต้านอนุมูลอิสระ
  5. Terpene-Infused Topicals: ปัจจุบันผลิตภัณฑ์เหล่านี้เกิดขึ้นแล้วมากมาย ไม่ว่าจะเป็นครีมบำรุงผิวบ้างล่ะ สบู่แชมพูบ้างล่ะ เครื่องสำอางบ้างล่ะ จากบริบทนี้เราจะเห็นได้ว่ามันความนิยมมีเยอะมาก นั่นก็ด้วยเหตุจากคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาที่ดีของ Terpene เองนั่นแหละค่ะ
รูปที่ 4 ไม่แน่ใจว่า ณ วันที่ผู้อ่านได้เห็นบทความนี้ไปสินค้าดั่งรูปจะวางขายหรือยัง แต่ถ้าวางขายไปแล้วก็คงจะน่าจัดมาไว้ซักขวดนะ

 

สรุป

โดยสรุปแล้ว Terpenes คือ สารประกอบจากธรรมชาติที่นอกจากจะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวแล้ว ยังมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่น่าสนใจมากมาย แต่ที่โดดเด่นเลยก็คือการต้านอนุมูลอิสระ, การเพิ่มความสามารถในการซึมผ่านผิวหนังของสารอื่น, และการต้านอักเสบ

นับแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน มนุษย์ได้นำสารกลุ่ม Terpenes มาใช้ประโยชน์มากมาย ไม่ว่าเป็นในส่วนของกิน หรือ เครื่องสำอาง รวมไปถึงเวชสำอางด้วย ดังนั้นการพัฒนาการประยุกต์ใช้สารกลุ่ม Terpenes นี้นับว่าคุ้มค่าค่ะ

 

รวบรวมและเขียนโดย

มาริสา คุ้มญาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์

เรียบเรียงและแก้ไขโดย

พท.ป.ธาร์มันษ์ ตลับเพชร์สกุล บรรณาธิการ

 

อ้างอิง

  1. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22963623/
  2. https://journals.sagepub.com/doi/full/10.1177/1934578X20903555
  3. https://www.sciencedirect.com/topics/pharmacology-toxicology-and-pharmaceutical-science/terpenoid
  4. https://www.researchgate.net/publication/339950197_Advances_in_Pharmacological_Activities_of_Terpenoids
  5. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/31969098/
  6. https://www.medicalnewstoday.com/articles/what-are-terpenes#types
  7. https://www.researchgate.net/publication/353590463_Potential_Antioxidant_Activity_of_Terpenes
  8. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3560127/
  9. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6273457/
  10. https://en.wikipedia.org/wiki/Terpene
  11. https://www.mdpi.com/1422-0067/20/15/3644

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *